กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (นอกเหนือสิทธิ์บัตรทอง มากกว่า 60 ปี)
รหัสโครงการ 62-L7573-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 36,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธิติ สิทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางขนิษฐา พุกบุญมี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.756,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 1 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
15.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)
4.00
3 จำนวนผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ "สังคมสูงอายุ" ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมดเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา คาดว่าประเทศไทยจะกลายเป็น"สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์" มีประชากรถึงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2564 จากการสำรวจของกรมอนามัย (2556) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียงร้อยละ 1 ผู้สูงอายุที่มีภาวะึ่งพิงระดับสูงร้อยละ 13 ไม่มีคนดูแลหรือต้องดูแลตนเอง รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดุแลอย่างเหมาะสม จึงสนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดให้มีการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยท้องถิ่นและชุมชนเป็นฐานการจัดการและดูแล สปสช.ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลควนขนุน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายให้เฉพาะผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพเท่านั้น และไม่รวมถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี เทศบาลตำบลควนขนุน มีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สิทธิ์อื่น จำนวน 13 คน โดยเป็นสิทธิ์สวัสดิการข้าราชการ จำนวน 12 คน สิทธิ์ประกันสังคม - คน นอกจากนั้นยังมีผู้มีอายุน้อยกว่า 60 ปีและพิการ ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1 คน ผู้สูงอายุและบุคคลที่มภาวะพึ่งพิงเหล่านี้ โดยเฉพาะกลุ่มติดเตียง (กลุ่มที่3-4) ซึ่งเคลื่อนไหวเองไม่ได้ อาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือทั้งด้านสาธารณสุขและด้านสังคม ยางรายต้องอยู่บ้านคนเดียวโดยไม่มีคนดูแล เพราะคนในครอบครัวต้องออกไปทำงาน ถึงแม้คนในครอบครัวจะช่วยกันดูแล แต่ก็เป็นภาระของครอบครัวและผู้ดูแลไม่น้อย สมควรที่ท้องถิ่นและคนในชุมชนจะเข้าไปช่วยเหลือดูแล ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สุงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลควนขนุน จึงได้จัดโครงการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยมีผู้จัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารรสุข (CM) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (CG) ไปบริการดูแลด้านสาธารณสุขที่ครัวเรือน/ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

15.00 15.00
2 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

4.00 4.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่เทศบาลตำบลควนขนุน ได้รับการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขตามแผนการดูแลรายบุคคล (CP) โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องและผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิง ณ ที่ครัวเรือน

ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่เทศบาลตำบลควนขุน ได้รับการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ตามแผนการดูแลรายบุคคล (Cp) โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องและผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิง ณ ที่ครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 สำรวจและประเมินกิจวัตรประจำวันของกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมลงพื้นที่ช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมาย 0 33.00 -
27 ก.พ. 62 จัดซื้อวัสดุในการดูแล 0 2.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ
      1) สำรวจและประเมินการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุสิทธิ์อื่นและบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี โดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และสรุปข้อมูลผู้ที่มคะแนนประเมินเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลและส่งเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ส่งพร้อมโครงการให้เทสบาลตำบลควนขนุน   2) CM ปรึกษาปัญหารายกรณ๊กับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำ CP ประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการจัดบริการดูแลระยะยาวฯ   3) ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ จัดทำข้อเสนอโครงการและโครงการพร้อมสรุปแผนการดูแลรายบุคคล เพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบริการดูแลระยะยาว ฯ ต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลควนขุน
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน   1) CM บูรณาการแผนการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลทุกสิทธิ์ที่มีภาวะพึ่งพิง จัดทำ CP รายสัปดาห์และจัดแบ่งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง พร้อมตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ CG แต่ละคนรับผิดชอบดูแล ทั้งนี้ CG 1 คน ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไม่ควรเกิน 6 คน ต่อวัน โดยคละกันไประหว่างกลุ่ม 1-4
      2) ออกปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงานดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตาม CP โดยให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน และบันทึกการปฏิบัติงาน รายงานต่อ CM   3) CM และคณะทำงาน กำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานของ CG ทุกสัปดาห์   4) CM ประเมินและทบทวน CP ญาติ และอาจปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง   5) CM ประสานกับหน่วยบริการประจำจัดบุคลากรสาธารรศุข (ทีมหมอครอบครัว) ออกให้บริการดูแลด้านการพยาบาล ด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ด้านโภชนาการ ด้านเภสัชกรรมและด้านอื่นๆ ตามความจำเป็น อาทิ สุขภาพช่องปาก สุขภาพจิต แก่ผู้สูงอายุที่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำ ฝึกสอนญาติ และหรือ CG ในการดูแลช่วยเหลือ   6) จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น (หรือประสานขอสนับสนุนจากหน่วยบริการประจำ) จ้างเหมาบริการ CG จ่ายค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานนอกเวลา หรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และบุคลากรสาธารรศุขที่ช่วยปฏิบัติงาน งานดูดูแลระยะยาว ฯ
    3.สรุปและรายงานผล   1) CM และ CG สรุปผลการปฏิบัติงานทุก 3 เดือน และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟู ฯ และรายงานต้นสังกัด   2) ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ จัดทำสรุปผลการดำเนินงานพร้อมรายงาน (ตามเอกสารแนบท้ายโครงการ) ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลควนขนุน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่เทศบาลตำบลควนขนุน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระของครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2562 14:43 น.