กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขภาพ เพื่อรู้จักดูแลตนเอง ลดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง
รหัสโครงการ 60-L7250-2-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชน ในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุพัตย์ หริรักษ์ ประธาน อสม.ชุมชนกุโบร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆ ของประเทศไทย คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีอัตราตาย 91.25, 32.65, 22.64, 18.28, 15.48 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.1558 )และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเกิดจากค่านิยมในการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปได้รับอิทธิพลจากตะวันตกตามกระแสบริโภคนิยมและวัตถุนิยม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารโปรตีนและไขมันสูงที่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ล้วนๆ อาหารรสจัด เช่นมันจัด หวานจัด เค็มจัด กินผักและผลไม้น้อย เดินน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย และการกินยาและการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง จากการสำรวจประชาชนอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป ในชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ พบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดัน – เบาหวาน)จำนวน 455 ราย แยกเป็นผู้ป่วยของชุมชนกุโบร์ จำนวน 115 ราย และในจำนวนผู้ป่วยมีอาการอื่นแทรกซ้อนเข้ามาไม่ว่าจะเป็นโรคปวดเมื่อย ข้อเสื่อม และมีพฤติกรรมการกินยาที่ไม่ถูกต้อง และมีการใช้ยาเกินที่จำเป็น จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและกลุ่มเสี่ยงจึงมีการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลตนเองไม่ถูกต้อง ลดการกินยาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ดังนั้นทางอสม.ชุมชนกุโบร์จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขภาพ เพื่อรู้จักดูแลตนเอง ลดการกินยา ห่างไกลโรคแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยและผู้ดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
2 2. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
  1. ร้อยละ 5 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมไม่เกิดโรคแทรกซ้อน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงานและ แกนนำ อสม./ประชาชน ในชุมชน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รายละเอียดกิจกรรม และติดตามการดำเนินงานโครงการ
  4. กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแล
  5. ติดตามการดูแลที่บ้านโดยจิตอาสา
  6. อบรมเชิงปฏิบัติการแกผู้ดูแลด้านอาชีพ
  7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
  8. สรุปรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 . กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2560 09:53 น.