โครงการ “ชมรมผู้สูงวัยสดใสไร้โรค”
ชื่อโครงการ | โครงการ “ชมรมผู้สูงวัยสดใสไร้โรค” |
รหัสโครงการ | 60-L7250-2-8 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชมในเขต ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ |
วันที่อนุมัติ | 23 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธนพร ศิรินุพงศ์ ประธานชมรมผู้สูงอายุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 135 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญได้แก่ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในปี ๒๕๕๘ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจำนวน ๑๓๕ ราย กลุ่มป่วย จำนวน ๙๓ ราย เป็นผู้ชาย ๒๗ ราย ผู้หญิง ๖๖ ราย ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ๓๕ ราย และโรคความดันโลหิตสูง ๖๖ ราย เข้ามารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ จำนวน ๑๖๓ ราย ส่วนใหญ่พบในวัยสูงอายุ สาเหตุสำคัญเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ความเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เป็นกระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ โดยการกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรค และเป็นผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม รวมไปถึงการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีและการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้ว
ชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวัง ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ เป็นชุมชนเข้มแข็งที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคนรุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ ผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน ตัวอย่างเช่น การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อรับประทาน การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จากกะลามะพร้าว การนวด การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอกดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวัง จึงเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยโดยการคิดค้นนวตกรรม การใช้สมุนไพรและการบริหารแบบไทย เช่น กายบริหารท่าฤาษีดัดตน มาปรับใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวังโดยใช้ภูมิปัญญาไทย ๑. ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวัง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ ๘๐ |
||
2 | ๒. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๒. ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ รอบเอวและดัชนีมวลกาย ลดลง ร้อยละ ๘๐ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑.ประชุมประชาคมสำรวจปัญหา ๒. เขียนโครงการขอเสนออนุมัติงบประมาณ ๓. จัดประชุมกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวังและกลุ่มต่างๆในชุมชนมอบหมายหน้าที่ ๔. ติดตามประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบและประชาสัมพันธ์รณรงค์โครงการ ๕. ดำเนินกิจกรรมโครงการ ๖. ประเมินผล สรุปโครงการ
๙.๑ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวัง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยนำนวัตกรรมภูมิปัญญาไทย การใช้สมุนไพรและการบริหารแบบไทยมาใช้อย่างถูกต้อง ๙.๒ กลุ่มป่วย สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนสมหวัง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2560 09:57 น.