โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนปลอดภัย ห่างไกลจากสิ่งเสพติด
ชื่อโครงการ | โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนปลอดภัย ห่างไกลจากสิ่งเสพติด |
รหัสโครงการ | 60-L7250-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง |
วันที่อนุมัติ | 23 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 17,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมาร์ท อร่ามวงศ์ประธาน อสม. ชุมชนวังเขียว – วังขาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในสภาพสังคมไทยปัจจุบัน มีปัจจัย หลายด้านที่ส่งผลกระทบเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย เช่น การก่อเหตุทะเลาะวิวาท การลักเล็กขโมยน้อย และการมั่วสุมเสพยาเสพติด เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นยั่วเย้าทางด้านวัตถุนิยมและสิ่งมอมเมาให้เยาวชนหลงใหลคลั่งไคล้ในการบริโภคนิยม รวมทั้งปัญหาทางครอบครัวที่มีผลต่อปัญหาดังกล่าวในวัยรุ่น ซึ่งการมั่วสุมเสพยาเสพติด เป็นต้นตอที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกหลายอย่าง ถือว่าเป็นปัญหาขั้นวิกฤติของเด็กและเยาวชนในวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ ปัญหาเยาวชนติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นปัญหาที่มักจะโยงใยถึงกัน ซึ่งสาเหตุก็มาจากการอยากรู้อยากลอง ชักชวนกันมั่วสุม ขาดการยับยั้งชั่งใจโดยหน่วยงานต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันและเข้ามามีบทบาทในการช่วยกันแก้ไขปัญหานี้เป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ให้เยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาจากยาเสพติดซึ่งมีสาเหตุมาจากการอยากรู้อยากลอง การชักชวนของเพื่อนฝูง การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการตระหนักถึงพิษภัยและผลเสียของมัน สิ่งยั่วยุความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาในการอบรมเลี้ยงดู ดังนั้น๗ชุมชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนปลอดภัย ห่างไกลจากสิ่งเสพติดเพื่อส่งเสริมความรู้ ให้เยาวชนได้ตระหนักถึงพิษภัยของปัญหายาเสพติด มีทักษะชีวิต มีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเกี่ยวกับยาเสพติด ในทางที่ถูกต้องและรู้จักหลีกเลี่ยงภัยอันตรายเหล่านั้น เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและผลกระทบของยาเสพติด ๑. เยาวชนได้รับรู้ถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดและผลกระทบของยาเสพติด ร้อยละ ๘๐ % |
||
2 | ๒. เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการหลีกเลี่ยงยาเสพติดและการป้องกันปัญหายาเสพติด ๒. เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการหลีกเลี่ยงยาเสพติดและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร |
||
3 | ๓. เพื่อให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงเป็นแกนนำในชุมชนเพื่อต่อต้านยาเสพติด
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑.ประชุมชี้แจง อสม. ทั้ง ๗ ชุมชนและเจ้าที่ PCU เตาหลวง เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงการจัดทำโครงการ ๒.จัดทำโครงการ ๓.เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๔.ติดต่อประสานวิทยากรและสถานที่ในการจัดกิจกรรม ๕.จัดเตรียมเอกสาร, วัสดุอุปกรณ์ ๖.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนปลอดภัย ห่างไกลจากสิ่งเสพติดและกิจกรรมกลุ่ม
-ความรู้เรื่องสถานการณ์ปัญหาของยาเสพติดในปัจจุบัน -ความภาคภูมิใจในตนเอง -ทักษะชีวิต -แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการป้องกันและปฏิเสธจากยาเสพติด ๗.สรุปผลการดำเนินงาน
๑.เยาวชนได้รับรู้รับทราบถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ๒.เยาวชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีทักษะในการป้องกันปัญหายาเสพติดของตนเองได้ ๓.เยาวชนที่ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถเป็นแกนนำในการให้ความรู้และป้องกันปัญหา ยาเสพติดในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2560 10:08 น.