กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลังประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อปรับเปลียนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
รหัสโครงการ 62-L3032-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรัง
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2562 - 17 มกราคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2562
งบประมาณ 25,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,101.299place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่มีปัญหาโรคเรื้อรังที่สูงสุด ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าในปี พ.ศ. 2549 โรคเรื้อรังเป็นปัญหาที่รุนแรง และสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะแย่ลงไปมากขึ้นในอนาคตคาดว่าในปี พ.ศ. 2558 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 และเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังถึง 41 ล้านคนทั่วโลก จากการเสียชีวิตทั้งหมดประมาณ 64 ล้านคน ทั้งนี้จึงเป็นประเทศที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานในอีก 10 ปีข้างหน้าสูงถึง 5.58 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยกล่าวอีกว่า จากสภาวะปัญหาดังกล่าวองค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสแคป เข้ามาร่วมมือในการทำงาน โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังให้ได้ร้อยละ 2 หรือประมาณ 11 ล้านคนภายใน 10 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 70 ปี รวมทั้งป้องกันการเสียชีวิตในประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้ให้ได้ถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้องรังประมาณร้อยละ  59 หรือประมาร 245,000 ราย จากการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรในประเทศในปี พ.ศ. 2545 ทั้งหมดประมาณ 419,000 ราย และจากการคาดการณ์พบว่า สถานการณ์ภาวะน้ำหนักเกินของคนไทยชายและหญิงอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ. 2558 คาดว่า ชายไทยมีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ  34 และหญิงร้อยละ 47 ในอีก 10 ปีข้างหน้าชายจะเพิ่มขึ้นร้อยละ  35  และหญิงจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ  57  (ไทยรัฐ: 2549)     โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดกับระบบหัวใจและ  หลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกรวมถึงประเทศไทยในปัจจุบัน โดยสามในสี่ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมดเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด (ischaemic heart diseases) และโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular diseases) ซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตันหรือขาดความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมัน โปรตีนและแร่ธาตุ ที่บริเวณผนังหลอดเลือด สาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ และภาวะอ้วน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีสภาพแวดล้อม และวิถีการดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อสุขภาพ จึงส่งผลให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูงขึ้นไปด้วย (การบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างเสริมสุขภาพ: โรคเรื้อรัง, 2551)     ประเทศในแถบเอเชีย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญและสูงกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจหลายเท่า เช่น ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 3 เท่า โดยประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และเบาหวานรวมสูงถึงปีละกว่า 85,000 รายหรือวันละ 236 คน ผู้เสียชีวิตเหล่านี้ล้วนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันเลือดสูง หรือเบาหวาน อัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองของคนไทยในปี 2542 สูงมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชายและเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง มีจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดในประเทศไทยพบมากกว่า 40,000 คนต่อปี และยังสูงขึ้นทุกปีอีกด้วย ในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิตหรือมีความพิการเป็นภาระแก่สังคมและครอบครัว และมีค่าใช่จ่ายในการรักษาระยะยาวสูง     โรคหัวใจและหลอดเลือดสมองคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตันหรืออาจเสี่ยงถึงขั้นเส้นเลือดแตกโดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศปัจจัยด้านพฤติกรรมเช่นการออกกำลังกายอาหารการสูบบุหรี่ดื่มสุราและปัจจัยทางกายภาพเช่น ความดันโลหิตระดับไขมันในเลือดและเบาหวานปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับที่แตกต่างกันซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น จากข้อมูลรายงานใน HDC Cloud อัตราอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอยะรัง คิดเป็นร้อยละ  53.69 จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จังหวัดปัตตานี ปี 2560 พบว่า ในเขตตำบลยะรัง มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 65 ราย เป็นผู้ป่วยรายใหม่  4 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ  60 ปีขึ้นไป และมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมองร้อยละ 13.23 มีภาวะแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 7.30 ตามลำดับ
    ดังนั้น การดำเนินการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดสมองที่มีผู้สูงอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดโรค จึงได้ให้ความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ จึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดปี 2562 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มประชาชนที่มีความสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ในระดับหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความเชื่อในความสามารถเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม ในเรื่องการรับประทานอาหารการออกกำลังกาย การจัดการความเครียดด้วยตนเอง ดูแลและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 ประชาชนมีพฤติกรรมดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหารการออกกำลังกาย

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  1. ร้อยละ 50 ลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,550.00 0 0.00
4 ม.ค. 62 ค่าป้าย โครงการ 0 750.00 -
15 ม.ค. 62 กิจกรรมการให้ความรู้และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ 0 4,000.00 -
15 - 17 ม.ค. 62 ค่าวิทยากร กิจกรรมการให้ความรู้และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ 0 10,800.00 -
16 ม.ค. 62 กิจกรรมการให้ความรู้และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ 0 4,000.00 -
17 ม.ค. 62 กิจกรรมการให้ความรู้และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ 0 6,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ 1. ประสานงานกับชุมชน ประชุมชี้แจงโครงการกิจกรรม 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ขั้นดำเนินการ 1. กิจกรรมการให้ความรู้และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจแก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยการอบรมพร้อมแจกสื่อประชาสัมพันธ์โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทุกหลังคาเรือน
ขั้นติดตามประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อมั่นในตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม ในเรื่องการรับประทานอาหารการออกกำลังกาย การจัดการความเครียดด้วยตนเอง ดูแลและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงที่ถูกต้อง
  3. ลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2562 15:19 น.