กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ในการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อเข้าสู่ตำบลสุขภาวะ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จ.พัทลุง ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-l3338-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านพระเกิด
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 140,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิศานาถ ชาตรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.371,100.261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และผลจากการพัฒนาด้านสุขภาพ ส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยคนไทยเพิ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่าสุขภาพโดยรวมของคนไทยดีขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงวิถีชีวิต ของคนส่วนใหญ่ในประเทศเกษตรกรรม พบว่า ประเทศไทยมีโรคภัยที่เกิดจากมลพิษ โรคจากการประกอบอาชีพ พิษจากสารตกค้างมากขึ้น สังคมมีความเหลื่อมล้ำสูงทำให้เกิดปัญหาความเครียดและการเสื่อมเสียในด้านสุขภาพจิต ปัญหาผู้ติดสุรา ปัญหาสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวคนไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตรุนแรง ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งผลให้มีอุบัติการณ์โรคสูงขึ้นอย่างมาก เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในประเทศไทยในช่วงปี 2557 ที่มีอัตราการเจ็บป่วยโรคหัวใจสูงเป็นอันดับหนึ่งโดยมีอุบัติการณ์สูงถึง 276.88 ต่อประชากรแสนคน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง มีอุบัติการณ์ 860.53, 675.75 และ 135.2 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับความเจ็บป่วยจากโรคไร้เชื้อเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่นการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา สิ่งมึนเมาสารเสพติดรวมทั้งเกิดจากความเครียดและการขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้โรคเอดส์มีแนวโน้มแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนและแม่บ้าน ปัญหาอุบัติเหตุจากการจราจรนำความสูญเสียสู่สังคมไทยทั้งทางเศรษฐกิจ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในสถานการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปัญหาที่มีความเชื่อโยงซับซ้อนยิ่งขึ้น การพัฒนาคนด้านสุขภาพเพื่อรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง รู้สาเหตุ และค้นหาวิธีการแก้ไขพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกำลังคนที่เป็นต้นทุนของสังคม คือ แกนนำสุขภาพ ซึ่งเป็นแบบอย่างของการดูแลสุขภาพกันเองขอชาวบ้าน การพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านสุขภาพให้ แกนนำสุขภาพมีศักยภาพที่จะดูแลและถ่ายทอดความรู้ไปยังหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ ตลอดจนสร้างกระแสให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นยิ่งนักและเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ แกนนำสุขภาพมีคุณภาพและสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทได้ดียิ่งขึ้น     อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพระเกิด อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ในการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อเข้าสู่ตำบลสุขภาวะ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จ.พัทลุง ประจำปี 2562 ขึ้น เพื่อเสริมสร้างให้ แกนนำสุขภาพ มีศักยภาพที่จะดูแลถ่ายทอดความรู้ไปยังหลังคาเรือนที่รับผิดชอบมีการจัดระบบสุขภาพในหมู่บ้าน สร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชน เกิดเวที่ประชาคมสุขภาพศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน เป็นหมู่บ้าน ตำบลจัดการสุขภาพ ลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ตลอดจน ลดอัตราป่วยและตายในกลุ่มโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ โดยส่งผลให้เกิดการดูแลสุขภาพตนเองแบบยั่งยืน เข้าสู่ตำบลสุขภาวะ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนา บทบาทแกนนำให้เป็นผู้นำในการจัดการสุขภาพชุมชน ภายใต้ข้อมูลและปัญหาของชุมชน

มีแกนนำสุขภาพทุกหมู่บ้านที่มีความรู้ความสามารถร่วมจัดการปัญหาสุขภาพในชุมชน

1.00
2 2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำมีโอกาสเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย

แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพประจำครอบครัว ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพตำบล

1.00
3 3 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพชุมชนแบบบูรณาการ

แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองตามกลุ่มวัย มีการขยายเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ

1.00
4 4 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านสุขภาพดี มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในครอบครัวของตนเอง สามารถถ่ายทอดและให้การดูแลสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพตำบลได้อย่างยั่งยืน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง/เตรียมที่วิทยากร/จัดทำหลักสูตร
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบงาน/ฝ่ายต่างๆ
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและการฝึกปฏิบัติจริง หลักสูตร 2 วันในประเด็นดังต่อไปนี้

- ทักษะการจัดทำแผนสุขภาพชมชน - หมู่บ้านจัดการสุขภาพต้นแบบ - ตำบลสุขภาวะ - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ - การดำเนินงานชมรมสร้างสุขภาพในชุมชน 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานตำบลสุขภาวะของแกนนำสุขภาพประจำหมู่บ้าน จำนวน 2 วัน 5. การจัดทำประชาคมจัดทำแผนงานสุขภาพชุมชน 6. การประเมินผลโครงการ เพื่อประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ตลอดจนรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้าน 7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำสุขภาพ มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านการบริหาร วิชาการและปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชนและมีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพและบริการชุมชนของตนเอง เพื่อให้ประชากรสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแกนนำสุขภาพสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่องด้วนตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2562 13:19 น.