กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 62-L7573-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธิติ สิทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางขนิษฐา พุกบุญมี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.756,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลควนขนุน ผู้สูงอายุบางคนไม่ได้รับการดูแลจากลูกหลานหรือไม่มีญาติ ถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ด้านอาหารและด้านการรับประทานยารักษาโรค

จากการสำรวจพบว่ามีผู้สูงอายุที่อายุ 75 ปีขึ้นไป จำนวน 170 คน บางคนไม่ได้รับการดูแลจากลูกหลานหรือไม่มีญาติ ถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ด้านอาหารและด้านการรับประทานยารักษาโรค

170.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพผู้สูงอายุ มีความสำคัญมาก การมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถหรือปกติ ถือว่าเป็นคนที่ดูแลสุขภาพของตนเองได้เป็นอย่างดีผู้สูงอายุบางคนไม่มีการดูแลจากลูกหลานหรือไม่มีญาติ ถูกปล่อยให้อยุ่ตามลำพัง หรือมีญาติพี่น้องแต่ไม่ได้้รับการดูแลจากญาติพี่น้องเท่าทีควรซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่อผู้สูงอายุในทุก ๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ด้านอาหารการกิน ตลอดจนถึงการรับประทานยารักษาโรค ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุนและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เช่น อสม. ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เทสบาลตำบลควนขนุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผูสูงอายุจากข้อมูลทะเบียบราษฎร์ เทสบาลตำบลควนขนุน ณ วันที่ 2 กรกฏาคม 2560 พบว่าประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีจำนวน 519 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ขอวประชากรทั้งหมดถือว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์โดยจัดเป็นกลุ่มติดสังคม จำนวน 494 คน ติดบ้าน 20 คน ติดเตียง 5 คน และมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุนกลุ่มประชากรความเสี่ยง แยกออกเป็นดังนี้ ผู้สูงอายุเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 116 คนโรคความดันโลหิตสุงจำนวน 286 คนหลอดเลือดสมองจำนวน 82 คน และโรคภาวำแทรกซ้อนจำนวน35คน จากเหตุผลดังกล่างข้างต้นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นเพื่อออกเยี่ยม ติดตามดูแลสุขภาพและให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเบื้องต้น พร้อมเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความเข้าใจในการเสริมสร้างสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการตรวจสุขภาพและได้รับการแนะนำการปฎิบัติตนที่ถูกต้อง

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพและได้รับการแนะนำการปฏิบัติตนที่ถูกต้องร้อยละ 80

136.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติทักษะและสามารถดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของตนเองเพิ่มขึ้น

ผู้สูงอายุได้รับความรู้ เจตคติทักษะและสามารถดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

136.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง

ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องร้อยละ 80

136.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพและการค้นหากลุ่มเสี่ยง ประสานศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลตำบลควนขนุน เพื่อลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม 2.อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย มีสุขภาพดีขึ้นร้อยละ 80 2.ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติทักษะและสามารถดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพพแข็งแรง ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องร้อยละ 80 4.เกิดความเข้าใจและความสามัคคีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกันร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2562 14:27 น.