โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม
ชื่อโครงการ | โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม |
รหัสโครงการ | 60-L2984-2-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมตาดีกาตำบลป่าบอน |
วันที่อนุมัติ | 9 มีนาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2560 - 31 พฤษภาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 32,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะยากี มามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.701,101.116place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 17 มี.ค. 2560 | 31 พ.ค. 2560 | 32,450.00 | |||
รวมงบประมาณ | 32,450.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยในพื้นที่ตำบลป่าบอนประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีบริบทเฉพาะที่ต่างจากพื้นที่ทั่วไปในด้านสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา การทำพิธีเข้าสุหนัตหรือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายถือเป็นพิธีการหนึ่งทางศาสนา ที่ส่งเสริมให้เยาวชนมุสลิมเพศชายทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ การเข้าสุหนัต การตัดหนัง หุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชาย ภาษาอาหรับเรียก “คิตาน” ทางการแพทย์เรียกว่า “เซอร์คัมซัสซัน” หมายถึงการศัลยกรรมที่ทำการตัดหนังหุ้มหลวมๆ อยู่ตอนปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชาย การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด หากหนัง หุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่ ส่วนวัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า “ เสกม่า ”ก็จะหมักหมมอยู่ การเข้าสุหนัตเป็นการขจัดสิ่งนี้โดยวิธีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะค้างอยู่ซึ่งเป็นสิ่งสกปรกมีกลิ่นยากแก่การทำความสะอาด การเข้าสุหนัตในด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่า สุหนัตเป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมากแพทย์บางท่านเห็นว่าสมัยนี้ในสุขวิทยาเจริญมากว่าแต่ก่อนสมควรให้มีการเข้าสุหนัต และแนะนำให้เด็กที่เกิดมาทุกคนได้รับการเข้าสุหนัต โดยให้เหตุผลว่า “ในรายที่เด็กมีหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์แคบและตึงมากไม่สามารถจะดึงให้หุ้มได้หมด ในรายที่มีหนังหุ้มยาวมากเกินควร จนขังน้ำปัสสาวะซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคขึ้นได้ถ้าชำระความสะอาดทำได้ไม่สะดวก ในรายที่หนังหุ้มแคบมาก “ไพโมซิส” ทำให้เจ็บปวดเมื่อแข็งตัว และปัสสาวะลำบากแก้ไขได้โดยการเข้าสุหนัต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลป่าบอน เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อทางท่อปัสสาวะ
|
||
2 | 2.เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
|
||
3 | 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลป่าบอนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
8 - 9 เม.ย. 60 | กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย | 40 | 32,450.00 | ✔ | 32,450.00 | |
รวม | 40 | 32,450.00 | 1 | 32,450.00 |
1.กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1)จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ 2)ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ 3)จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อให้บริการทำสุหนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชนมุสลิม 2.กิจกรรมให้บริการทำสุหนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชนมุสลิม 1)กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค 2)กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) 3.การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำสุหนัต และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก 4.สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
1.เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุหนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) ลดภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ 2.เด็กและเยาวชนมุสลิมรวมทั้งผู้ปกครองเกิดความตระหนักความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2560 11:27 น.