กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3348-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 11,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมคิด สงขาว
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้
            จากการสำรวจร้านขายของชำในหมู่บ้าน  เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ผักสด ผลไม้ ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ และพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการและผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดจากสารพิษตกค้าง ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
หากไม่หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ก่อให้เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิค ได้แก่การมีไขมันในเลือดผิดปกติความดันโลหิตสูงมีภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน  นอกจากนี้ยังมีภาวะผิดปกติอื่นๆ ในกระแสโลหิตมีแนวโน้มให้เกิดการอักเสบในผนังหลอดเลือดและเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวได้ง่ายจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพอย่างเงียบ ๆ ก่อให้เกิดโรคหลายอย่าง
            ดังนั้น ชมรม อสม,ร่วมกับโรงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ประจำปี 2562 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ได้นำความรู้ ไปปรับความคิดและพฤติกรรมการบริโภคอาหารถูกหลัก ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถบริโภคอาหาร ผักปลอดสารพิษและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

1.00
2 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอสม. ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง

1.00
3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

ร้านชำในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพปลอดภัยได้มาตรฐานมาจำหน่ายคลอบคลุมร้อยละ 100

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11.00 0 0.00
8 ม.ค. 62 จัดอบรมให้ความรู้ 0 11.00 -
  1. ชี้แจงโครงการ/ขั้นตอนการดำเนินงานแก่ อสม.ประจำหมู่บ้าน
  2. จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่ม แกนนำอสม.ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนเกษตรกร) จำนวน 50 คน
  3. กำหนดพื้นที่ในการจัดอบรม กำหนดวันเวลา จัดเตรียมเอกสารในการอบรมแก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. ติดต่อประสานวิทยากรที่จะมาให้ความรู้
  5. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ตรวจสุขภาพหาค่า BMI ,เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ครั้งที่ 1
  6. อสม./เจ้าหน้าที่ ออกตรวจร้านขายของชำ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  7. ปลูกผักปลอดสารพิษ และสมุนไพรพื้นบ้าน แปลงสาธิตพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านควนยาว
  8. อสม./เจ้าหน้าที่ ออกตรวจร้านขายของชำ และเก็บตัวอย่างอาหาร ผักสดส่งตรวจ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3,4,5,8,9 ต.ลานข่อย
  9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม./เจ้าหน้าที่ ตรวจสุขภาพหาค่า BMI ,เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ครั้งที่ 2
  10. สรุปวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลการดำเนินงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
  11. ในกลุ่มเสี่ยงที่ยังมีผลการตรวจผิดปกติ ส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป
  12. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหาร ผักปลอดสารพิษและมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2562 15:36 น.