กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังในชุมชน เขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7250-2-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนวลศรี มณีแสง ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนแหล่งพระราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของวัยผู้ใหญ่ โรคไม่ติดต่อ เรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืด) โรคต่างๆ ดังกล่าว มักมีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงร่วมหนึ่งปัจจัยหรือมากกว่า ได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ การขาดการออกกำลังกาย และ ความเครียด ฯลฯ สถานการณ์โรคเรื้อรังในพื้นที่ ปี 2559พบ ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวนทั้งสิ้น759คน จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 38 รายประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 385 รายกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 37 ราย สงสัยเป็นโรค(SBP≥140mmHgหรือ DBP≥90 mmHg )จากการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 3 รายพบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนทั้งสิ้น 453 คน จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 113 ราย ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 22 ราย สาเหตุของปัญหาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลัก 3 อ. 2ส. จากปัญหาที่กล่าวชุมชนในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลาจึงได้จัดโครงการนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อควบคุมอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบ
  1. อัตราผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนที่เกิดโรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ5 และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 10
2 2. เพื่อให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่าร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงแกนนำทีมทำงานในชุมชน6 แห่ง
    1. สำรวจติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชนตามจำนวนที่กำหนดและจัดทำทะเบียนรายชื่อ
  2. กิจกรรมบูรณาการแบบมีส่วนร่วมในชุมชนทั้ง 6 แห่ง โดยตรวจสุขภาพโดยแกนนำสาธารณสุขในชุมชน เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต,ระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกาย ก่อน-หลัง ร่วมกิจกรรม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องสุขภาพกิจกรรมออกกำลังกายแบบต่างๆเช่นไลน์แดนส์/ลีลาศ
    1. จัดกิจกรรมรวมกลุ่มออกกำลังกายกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้งในชุมชน 6 แห่ง/จำนวน 3 ครั้ง
    2. ประเมินผล สรุปโครงการ สิ้นเดือนสิงหาคม 2560
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนทั้ง 6 แห่งมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และ อัตราการเกิดโรครายใหม่ในพื้นที่รับผิดชอบลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2560 13:16 น.