กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเคาะประตู ชูวัคซีน
รหัสโครงการ 62-L8302-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 39,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสเฮาะ ยูนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 236 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)
130.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงจึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมาอย่างยาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรคแต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ไนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดการระบาดของโรคหัด และพบว่าที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
      ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์โดยปีงบประมาณ2562 มี เด็กอายุ  0-5ปีจำนวน 366 คน รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์จำนวน 236 คน โดยแยกเป็นรายหมู่บ้านม.4,5,6,7และม.8 จำนวน 59,51,54,45,และ27 คน ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน และปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขออกนโยบายเคาะประตูรณรงค์วัคซีนทาง ชมรมอสม.รพ.สต.มะรือโบตก จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของกระทรวงและให้ผู้ปกครองเด็กมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

130.00 236.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ม.ค. 62 จัดกิจกรรมอสม.บือรีตอ วัคซีน 0 4,000.00 4,000.00
1 - 28 ก.พ. 62 จัดกิจกรรมให้ความรู้ “บูกอฮาตีอีบู บาเปาะ” 236 35,600.00 35,600.00
รวม 236 39,600.00 2 39,600.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. เก็บรวบรวมข้อมูล 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ 3. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
4. จัดกิจกรรมอสม.บือรีตอ วัคซีน 5. จัดกิจกรรมให้ความรู้ “บูกอฮาตีอีบู บาเปาะ” 6. จัดกิจกรรม “พาหมอเคาะประตู”
7. จัดกิจกรรม “อสม.โชเฟอร์ฉุกเฉิน” 8. จัดกิจกรรม “อสม.จอมตื้อ ตื้อหนักเพราะรักจริง” ขั้นที่ 3 สรุปผล
9. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0–5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 2.บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 10:30 น.