กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไข้เลือดออกภัยชุมชนที่ต้องเฝ้าระวัง
รหัสโครงการ L4145/62/05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 ตุลาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 19,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะวาดี ดือราฮิง
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ปาแดรู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย พื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม โดยปกติพบว่าส่วนใหญ่โรคไข้เลือดออก จะระบาด 3 ปี  เว้น 1 ปี
  จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่มอายุ ของ รพ.สต.บ้านปาแดรู พบว่า ปี 2561    (ณ. 30 ก.ย.61) มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย แต่โอกาสที่จะเกิดการระบาด ปี 2562 มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดค่อนข้างสูงตามวงจรการระบาดของโรคจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง   ดังนั้น รพ.สต.บ้านปาแดรู ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนและด้านอื่นๆ จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชน และในโรงเรียน ตามนโยบาย แนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำ โครงการหมู่บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 /ประชากร 100,000 คน ข้อที่ 2. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วย ได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวัง ร้อยละ 100

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่1. มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 0 ข้อที่ 2. มีการพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยครบ ร้อยละ 100

300.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การสร้างแกนนำครอบครัว และการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและ ตระหนักถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อนำโดยยุง
    1. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน และโรงเรียน
    2. ค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ทุกราย
    3. การควบคุมกำกับ และการประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 10:33 น.