กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน หมู่ที่ 4 ตำบลนาพละ
รหัสโครงการ 62 - L1496 - 02 -09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน ( อสม.) หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 6,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาพร รวมพล (บัญชี เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน บ้านนางน้อย ม.4 ต.นาพละ)
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความทันสมัยอีกทั้งการเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดจนการเข้าถึงบริการของรัฐเจ็บป่วยของประชาชนที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้สถานภาพด้านสุขภาพและแบบแผนพฤติกรรมการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไปดังจะเห็นได้จากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากตัวเชื้อโรคสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและสุขวิทยาส่วนบุคคลมีแนวโน้มลดลงแต่การเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่ออันเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคมะเร็งเบาหวานและอุบัติเหตุที่มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นและเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆของประเทศ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นกลุ่มดรคเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพละและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รายงานระบาดวิทยาของทั่วประเทศที่มีอัตราความชุกอยู่ที่ร้อยละ 2.5 รวมไปถึงทุกประเทศทั่วโลก ที่พบอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ธิติ สนับบุญ : การดูแลเบาหวานแบบองค์รวม) โดยพบว่าอุบัติการณ์และความชุกของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นในปี ค.ศ.2012 จะมีจำนวนอย่างน้อย 220 ล้านคน และ 300 ล้านคน ในปี ค.ศ.2025 อัตราการเพิ่มจะอยู่ที่ประมาณ 35% ซึ่งจะเป็นอัตราที่สูงมากในประเทศที่กำลังพัฒนา และพบตัวเลขการเกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตของผู้คนต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีการออกกำลังกายลดลง และสัดส่วนของอาหารที่รับประทานเปลี่ยนแปลงทำให้ส่งผลต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมา การคัดกรองและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างสุขภาถที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาวโดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค การตรวจค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆ ที่จะตามมาได้เป็นอย่างมากดังนั้นทางชมราอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพละ หมู่ที่ 4 จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2562 เพื่อให้เกิดความตระหนักเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพ ที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป) จำนวน 70 คน 2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อทุกราย
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยง (อายุ 35 ปีขึ้นไป) จำนวน 70 คนได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
  2. สามารถตรวจคัดกรองพบผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  3. ผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคเบาหวานความดันได้รับการส่งต่อ รพ.ตรัง ร้อยละ 100
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุงประชากร 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย 5. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชน ฯลฯ 6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ 1. แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม. มีส่วนร่วม 2. จัดประชุม อสม. ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การวัดส่วนสูงน้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลกาย 3. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน 4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงพร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียน และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง (NCDs) 5. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจยืนยันต่อโรคเรื้อรัง (NCDs) โดยการตรวจหาความดันโลหิต หาระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดรอบเอว 6. บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. อบต. ทราบภาระของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง 2. รายงานผลการดำเนิงานให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ 90
  2. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง (NCDs)
  3. ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และให้การดูแลรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเพื่อลดความรุนแรงของโรคและสามารถหายเป็นปกติได้ง่าย
  4. ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 10:57 น.