กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารดี มีประโยชน์
รหัสโครงการ 62-L8302-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลวิทยปัญญานราธิวาส
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 17,677.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เจะรอฮีมะ แดมองโก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 156 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
44.00
2 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
14.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารที่ดีและมีประโยชน์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเด็ก แต่ในปัจจุบัน พบว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ขาดสารอาหาร เนื่องจากบริโภคอาหารไม่ครบถ้วนทั้ง ๕ หมู่ และไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ อันเป็นสาเหตุทำให้เด็กๆอยู่ในภาวะ ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและขาดการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการสำรวจในโรงเรียนอนุบาลวิทยปัญญานราธิวาสเอง พบว่าเด็กนักเรียนจำนวน ๗๒ คน จากทั้งหมด ๑๕๖ อยู่ในภาวะทุพโภชนาการและมีค่า BMI (Body Mass Index) ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็น นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ จำนวน ๑๕ คน,นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๒ อยู่ในภาวะทุพโภชนาการจำนวน ๒๙ คน,นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ อยู่ในภาวะทุพโภชนาการจำนวน ๑๔ คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อยู่ในภาวะทุพโภชนาการจำนวน ๑๔ คน (ข้อมูลสำรวจ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๑)

ด้วยเหตุนี้ ทางโรงเรียนอนุบาลวิทยปัญญานราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการ “อาหารดี มีประโยชน์” ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น อีกทั้งช่วยลดปัญหาความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ อันจะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อตัวของเด็กนักเรียนในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

44.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

14.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,677.00 4 17,677.00
1 พ.ค. 62 - 31 ก.ค. 62 ให้ความรู้ เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ 0 600.00 600.00
1 พ.ค. 62 - 31 ก.ค. 62 ซุปเปอร์มาร์เก็ตห้องเรียน (Classroom Supermarket) 0 1,600.00 1,600.00
1 พ.ค. 62 - 31 ก.ค. 62 มุมอาหารน่ารู้ น่ารับประทาน 0 6,477.00 6,477.00
1 พ.ค. 62 - 31 ก.ค. 62 กิจกรรม ตลาดนัดหนูน้อย และ กิจกรรม Little Chefs 0 9,000.00 9,000.00

๑. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้ เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็กนักเรียน โดยเน้นอธิบายด้วยรูปภาพเพื่อความเข้าใจง่าย ๒. กิจกรรมภายในห้องเรียน :ซุปเปอร์มาร์เก็ตห้องเรียน (Classroom Supermarket) จำลองห้องเรียนให้เป็นร้านค้า โดยมีรูปภาพอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ และให้นักเรียนจำลองสถานการณ์การซื้ออาหารด้วยตนเองโดยคุณครูประจำชั้นจะมีหน้าที่ชี้แจงประโยชน์และโทษของอาหารแต่ละชนิด ๓. มุมอาหารน่ารู้ น่ารับประทาน: จัดสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียน โดยมีหนังสือและหนังสือรูปภาพอาหารที่มีประโยชน์ ผักผลไม้จำลอง และสื่อต่างๆ ๔. ตลาดนัดหนูน้อย : ทางโรงเรียนเตรียมอาหารหลากหลายรายการ เพื่อให้นักเรียนได้เลือกรับประทาน โดยจำลองสถานที่ให้เหมือนตลาดนัดเสมือนจริง(กิจกรรมจัดสามเดือน/เดือนละ ๑ ครั้ง) ๕. กิจกรรม “ผักชิ้นนี้ หนูปลูกเอง”: นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนร่วมกันปลูกและดูแลพืชผักสวนครัวเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนบริโภคผักมากขึ้น ๖. กิจกรรม “Little Chefs” : นักเรียนทำอาหารที่มีประโยชน์ด้วยตนเองโดยมีคุณครูเป็นผู้ดูแล เช่น แซนวิชผักสามสี, สลัดผักไก่ต้ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.นักเรียนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และบริโภคผักผลไม้มากขึ้น ๒.ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารและเด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหาร   ที่ดีและมีประโยชน์ ๓.นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่ดีขึ้นจากการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 11:37 น.