กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักข้างบ้าน อาหารริมรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลียงสารเคมี
รหัสโครงการ 62-L8302-2-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสเฮาะ ยูนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจาก ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า และ พาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง แต่กระนั้น สำหรับประชาชนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง ทางชมรมอสม.รพ.สต.มะรือโบตกได้เล้งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,800.00 2 28,800.00
1 - 31 พ.ค. 62 จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสการปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้รับประทานเองในชุมชน 0 2,400.00 2,400.00
1 - 30 มิ.ย. 62 จัดกิจกรรมให้ความรู้“คัด ล้าง ลดสารพิษด้วยวัตถุดิบในครัว” 0 26,400.00 26,400.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. มีการประชุมวางแผนการให้ความรู้จัดตั้งทีมงานที่เป็นผู้ประสาน
2. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เรื่องการปลูกผัก และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 3. จัดตั้งทีมงานที่เป็นผู้ประสานงาน ขั้นปฏิบัติ 4. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
5. จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสการปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้รับประทานเองในชุมชน 6. จัดกิจกรรมให้ความรู้“คัด ล้าง ลดสารพิษด้วยวัตถุดิบในครัว” 7. จัดกิจกรรม แจกจ่ายและ แลกเปลี่ยนพันธุ์ผัก 8. จัดกิจกรรม เจาะเลือดคัดกรองในกลุ่มเสียง 9. จัดกิจกรรม “บ้านอสม. บ้านตัวอย่างการปลูกผักข้างรั้ว”
10. จัดกิจกรรม การนำเสนอ ผลผลิต 11. จัดกิจกรรม ค้นหาครอบครัวต้นแบบ เพื่อพัฒนาเป็นครอบครัวแห่งการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 สรุปผล
12. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของครัวเรือนในพื้นที่มีการปลูกผักปลอดสารพิษ
2.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 12:00 น.