กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี เพราะสมุนไพรไทย
รหัสโครงการ L4145/62/06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 ตุลาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 5 กุมภาพันธ์ 2562
งบประมาณ 15,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอกีเยาะ ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ปาแดรู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์ การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ จนถึงเป็นผู้สูงอายุโดยกลุ่มอายุวัยทำงาน เป็นกลุ่มอายุที่เป็นเสาหลักของครอบครัว มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ และคอยดูแลบุคคลอื่นๆในครอบครัว จากข้อมูลประชากรวัยทำงาน ปี 2561 หมู่ที่1,3,5 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,229 คนจากฐานข้อมูล JHICSพบว่าประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่มีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อาทิเช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ แขน ขา และอื่นๆ โดยพบว่า โรคปวดกล้ามเนื้อ พบมากเป็นอันดับที่ 4 ของ10 กลุ่มโรคที่พบมากที่สุด พบมากถึง 409 ราย คิดเป็นร้อยละ10เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยาง ใช้ร่างกายในการยกของหนัก ยืนและเดินเป็นเวลานานๆ และอีกปัญหาหนึ่งที่พบในวัยทำงาน คือ อาการวิงเวียน หน้ามืด จากการทำงานกลางแจ้ง ทั้งนี้ยังพบว่าประชาชนวัยทำ งานในพื้นที่ส่วนใหญ่ ขาดความรู้เรื่องการนำสมุนไพรในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ ในการรักษาอาการเจ็บป่วยของตนเอง หากมีวิธีที่ช่วยบรรเทาหรือลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดอาการเวียนศีรษะ ที่สามารถช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันของกลุ่มวัยทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น จะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาตนเองสุขภาพร่างกายดีขึ้นสามารถดูแลบุคคลในครอบครัวได้ดี ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้า จึงเล็งเห็นความสำคัญของประชาชนวัยทำงาน และได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา หากกลุ่มต่างๆมีอาการที่รุนแรงตามมา ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในการดูแลบุคคลในครอบครัวหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ข้าพเจ้าจึงมีความสนในในการจัดทำโครงการชุมชนสุขภาพดี ด้วยยาไทยใกล้ตัว ปี 2562 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนวัยทำงานในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตลูกประคบสมุนไพรได้ถูกต้อง 2.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตยาดมสมุนไพรได้ถูกต้อง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตลูกประคบสมุนไพรได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 2.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตยาดมสมุนไพรได้ถูกต้องร้อยละ 80

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนวัยทำงาน
    เรื่องสมุนไพรในการทำลูกประคบสมุนไพรและการทำยาดมสมุนไพร จำนวน 100 คน 2.  ฝึกปฏิบัติในกลุ่มประชาชนวัยทำงาน แบบไม่ต้องพักค้างแรมโดยแพทย์แผนไทย เพื่อฝึกปฏิบัติดังนี้       - จับกลุ่มเพื่อทำลูกประคบสมุนไพรตั้งแต่ขั้นตอนการล้าง หั่น ผสม และการห่อ

- จับกลุ่มเพื่อทำยาดมสมุนไพรตั้งแต่ขั้นการผสม และการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนวัยทำงาน สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้และมีส่วนร่วมในการดูแลสมาชิกในครอบครัว
  2. อาการปวดกล้ามเนื้อในประชาชนวัยทำงานลดลง
  3. ประชาชนวัยทำงาน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่บุคคลในครอบครัวและชุมชน
  4. ประชาชนวัยทำงาน สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนในการดูแลตนเองและคนรอบข้าง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 12:13 น.