กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี
รหัสโครงการ 62-L7575-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2562
งบประมาณ 5,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลตะโหมด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.338,100.097place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5,600.00
รวมงบประมาณ 5,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน เกษตรกรนิยมหันมาใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชแทนการใช้พืชที่เป็นสมุนไพรหรือใช้วิธีชีวภาพปราบศัตรูพืชกันมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในการเลือกบริโภคอาหารประเภทผักและผลไม้ ประกอบกับจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ปี พ.ศ. 2554 พบว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มปริมาณมากขึ้นในทุกปี ซึ่งจากข้อมูลอัตราผู้ป่วยจากกลุ่มโรคสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Toxic effect of pesticides) ปี พ.ศ. 2553-2556 (ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข) พบว่า ในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราผู้ป่วยนอกจากกลุ่มโรคสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่ากับ 12.37 ต่อประชากรกลางปีแสนคน ลดลงจากปี พ.ศ. 2555 เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับอัตราผู้ป่วยนอกในปีพ.ศ. 2554 ก็ยังมีอัตราป่วยที่สูงมากกว่าเกือบเท่าตัวจะเห็นว่าข้อมูลภาวะโรคของพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอาจน้อยกว่าความเป็นจริง สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการวินิจฉัยโรคที่ไม่ชัดเจน ผู้ป่วยอาการเรื้อรังบางรายไม่ทราบว่าการป่วย ตำบลแม่ขรีเป็นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาทำไร่ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งจากการตรวจเลือดเกษตรกร ปี 2560 มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 500 คน พบว่า มีผลการตรวจในระดับผิดปกติ (เสี่ยงสูง/เสี่ยง/ไม่ปลอดภัย) จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 36.20 และปกติ จำนวน 319 คนคิดเป็นร้อยละ 63.80ทั้งนี้ ผู้มีผลการตรวจในระดับผิดปกติจะได้รับการตรวจซ้ำซึ่งจากผลการตรวจ พบว่า มีผลการตรวจในระดับผิดปกติ (เสี่ยงสูง/เสี่ยง/ไม่ปลอดภัย) จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 21.55 และปกติ จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 78.45 และจากการสอบถามข้อมูลการบริโภคผักผลไม้ของประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่นิยมซื้อผักที่แม่ค้านำมาขายที่ตลาด มากกว่าการปลูกผักกินเอง แต่มีประชาชนส่วนหนึ่งในพื้นที่ปลูกผักกินเอง และถ้าเหลือจากกินก็จะนำไปขายที่ตลาดใกล้บ้านจากการสอบถามผู้ปลูกผักก็ยังพบการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชอยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการยับยั้งและปลูกจิตสำนึกของเกษตรกรผู้ปลูกผักทางโรงพยาบาลตะโหมด จึงได้ทำโครงการโครงการการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรีได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยง

 

0.00
3 เพื่อให้ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,600.00 1 5,600.00
1 ก.พ. 62 - 30 มี.ค. 62 ตรวจหาสารเคมีตกค้าง 0 5,600.00 5,600.00

1 ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและ อสม. เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่ 2 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยงทราบ เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งนัด วัน เวลา  และสถานที่ในการตรวจ 3 เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 4 ประสานกับหมู่บ้านในพื้นที่/เทศบาลตำบลแม่ขรี เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 5 ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในประชากรกลุ่มเสี่ยง ตามวัน เวลาที่นัดหมาย 6 แจ้งผลการตรวจพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพ และตรวจครั้งที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเทศบาลตำบลแม่ขรี 2.เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร 3.เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2562 09:10 น.