กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคสู่สุขภาวะที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
รหัสโครงการ 2562-L5166-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.6 บ้านต้นส้าน
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 13,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละวิว ศรีงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2562 31 ส.ค. 2562 13,220.00
รวมงบประมาณ 13,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลาและยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ โดยเฉพาะในจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของ จำนวนประชากร แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัดและของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิดของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ในหลาย ๆ ด้าน หากวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดมลพิษ ทางดิน น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคต่าง ๆ และพาหนะ นำโรค ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่าโรคมะเร็ง เนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานและผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
พื้นที่ตำบลคลองหลา มีปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบกำจัดขยะในปีงบประมาณ 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 381.29 ตัน/ปี เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2559 จำนวน 44.38 ตัน โดยมีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 13.17        เมื่อเทียบกับปริมาณขยะในปีงบประมาณ 2559 (ปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบกำจัดในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 336.91 ตัน/ปี) โดยเฉพาะขยะเปียกซึ่งในชีวิตประจำวันทุกคนต่างใช้เครื่องอุปโภค บริโภคเพื่อการดำรงชีวิตและมีขยะเกิดขึ้นประมาณ 0.7 – 1.0 กิโลกรัมต่อคนในหนึ่งวัน ขยะบางส่วนเป็นเศษ ผัก ผลไม้และอาหารที่เหลือจากการรับประทาน ซึ่งเป็นขยะอินทรีย์หรือที่เรียกว่าขยะเปียก มักบรรจุถุงและนำไปทิ้ง มักเกิดปัญหาระหว่างรอกำจัดเศษอาหารเหล่านี้ อาจถูกแมลงหรือสัตว์คุ้ยเขี่ยทำให้สกปรกหรือบางครั้งเกิดการเน่า บูดเสีย ทำให้ส่งกลิ่นเหม็นและเป็นพาหะของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกพบว่าในพื้นที่อำเภอคลองหอยโข่งปี 2561 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 17 ราย (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง,2561) จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งมาจากขยะมูลฝอย หากไม่กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการเก็บขยะ    ทั้งภายในบ้านและภายนอกบ้านส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้             ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขม.6 บ้านต้นส้าน จึงจัดทำโครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคสู่สุขภาวะที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อให้ทุกภาคส่วนหันมาใส่ใจเรื่องดังกล่าวโดยมีการให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างความตระหนัก ทุกภาคส่วนในสังคมเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุบรรจุภัณฑ์ที่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกล่องโฟมและคัดแยกขยะ การกำจัดขยะเปียกอย่างถูกหลัก เพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชนภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,220.00 0 0.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้เรื่องขยะการคัดแยกขยะ การลดปริมาณขยะในชุม 0 13,220.00 -

อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ - ฟังการบรรยายจากวิทยากรในหัวข้อเรื่องการคัดแยกขยะ 1.1 การคัดแยกขยะอินทรีย์ การจัดการขยะเปียก 1.2 การคัดแยกขยะรีไซเคิล 1.3 การคัดแยกขยะอันตราย 1.4 การคัดแยกขยะทั่วไป 1.5 ขยะรีไซเคิล 1.6 ระบบปุ๋ยหมักชีวภาพ 1.7 สาธิตถังขยะเปียกมาใช้ในครัวเรือน 1.8 การติดตาม ประเมินผล การมีส่วนร่วมของชุมชน หมู่บ้านในการจัดการคัดแยกขยะ บ้านต้นแบบเข้าร่วม 1.9 การสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ           1) ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะเปียก การคัดแยกขยะ การลดปริมาณขยะในชุมชน           2) มีแหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ           3)ประชาชนมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคจากขยะมูลฝอย           4)ช่วยลดปริมาณขยะและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2562 14:22 น.