กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L7577-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชื่อองค์กร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 1. นางเพ็ญแข หนูมาก 2. นายเฉลิมชนม์ อินท์สุวรรณ 3. นายสมพล กัลยาสิริ 4. นายกฤษฏา พูนนวล 5. นางสาวเสาวลักษณ์ ปานรังษี
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเฉลิมชนม์ อินท์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เขี้ยวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.278,100.007place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนา ในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพ ที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา และถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้าน ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา  พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ โครงการสวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ส่งเสริมการใช้สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อการพึ่งตนเอง ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายหลักคือ เทศบาลตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยเป็นพื้นที่ส่วนรวมของประชาชนทั้ง 8 ชุมชน ในการอนุรักษ์ขยายพันธ์พืชสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อดูแลสุขภาพ และการใช้สมุนไพรกับคนในชุมชน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้ชุมชนใช้เป็นแหล่งดูแลสุขภาพ รวมถึงเป็นแหล่งส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริม การดูแลสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในตำบลตะโหมดเห็นคุณค่าและความสำคัญของสวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการ สวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อพัฒนาสู่ฐานการเรียนรู้ที่ดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนขึ้นเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ การอนุรักษ์ การสืบทอด การฟื้นฟู และ    ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรตามตำราแพทย์แผนไทย-การแพทย์พื้นบ้าน สามารถพัฒนาต่อยอด และเข้าไปเชื่อมต่อกับการแพทย์กระแสหลักในการดูแลรักษาสุขภาพกายและจิตของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนในชุมชน ทั้ง 8 ชุมชนมีคุณภาพกาย คุณภาพจิต และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
15 ม.ค. 62 1 จัดกิจกรรมพลังประชาชน ปรับพื้นที่จัดสวนสมุนไพรในเขตเทศบาลตำบลตะโหมด 0 15,000.00 -
15 ม.ค. 62 2 กิจกรรมจัดหาสมุนไพรในพื้นที่ โดย อสม. และประชาชนในพื้นที่ 0 0.00 -
  1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ
  2. ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนและแต่ละชุมชนทั้ง 8 ชุมชน
  4. กิจกรรม พลังประชาชน ปรับพื้นที่จัดสวนสมุนไพรในเขตเทศบาลตำบลตะโหมด
  5. กิจกรรมจัดหาสมุนไพรในพื้นที่ โดย อสม. และประชาชนในพื้นที่
  6. ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงาน
  7. สรุปผลการดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพอย่างจริงจังและร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมเกิดความใส่ใจ ตระหนัก เห็นความสำคัญ และร่วมมือกันอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญา การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรให้คงอยู่สู่รุ่นลูกหลาน
  3. เกิดการอนุรักษ์พันธุ์ไม้สมุนไพรหายากให้คงอยู่ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเรียนรู้ต่อไป
  4. ประชาชนทั้ง 8 ชุมชน สามารถและใช้สมุนไพร เพื่อการใช้ดูแลสุขภาพของตนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2562 10:15 น.