กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างแรงจูงใจในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 62-L7577-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าสถานีอนามัยบ้านตะโหมด
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารี คุ่มเคี่ยม
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เขี้ยวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.278,100.007place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนางานด้านสาธารณสุขนั้น รัฐได้ดำเนินการให้บริการทั้ง 4 ด้าน คือการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ โดยเฉพาะด้านการป้องกันโรค ถือเป็นงานที่สำคัญมากเพราะโรคมีมากมายทั้งที่สามารถป้องกันได้และไม่สามารถป้องกันได้ และไม่สามารถป้องกัน อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ โรคเรื้อรังที่ทำให้การป้องกันสาเหตุค่อนข้างยาก และเมื่อเป็นแล้วรักษาให้หายขาดได้ยากนั้น มะเร็ง นับว่าเป็นโรคที่สำคัญยิ่งโรคหนึ่ง ทั้งยังสามารถเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย และเป็นได้กับทุกเพศทุกวัย และทุกอาชีพ     มะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์เป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรีทั้งหมด และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรี จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากไม่มีโปรแกรมตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพพอในการตรวจคัดกรอง หารอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous Lesion) และให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกเริ่มพบก่อนอายุ 20 ปี พบได้น้อยมาก แต่พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45 – 50 ปี และพบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้ว     โรคมะเร็งปากมดลูกเมื่อเป็นแล้วนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อครอบครัว สังคม เกิดความสูญเสียหน้าที่การงาน ผลิตผลที่ควรได้รับ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบุคคลที่จะมาดูแลผู้ป่วย ซึ่งผลกระทบทั้งหมดจะเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่ ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ไปอีกด้วย ทั้งๆที่จริงแล้วโรคนี้สามารถป้องกันได้ ด้วยการค้นหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (Pap Smear) มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นการลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด จึงได้จัดทำโครงการสร้างแรงจูงใจในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ประจำปี 2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจ Pep Smear

 

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มแรก และส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายและความรุนแรงของโรค

 

0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อลดอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกไม่ให้เกิน 1.5 ต่อแสนประชากร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,600.00 0 0.00
15 ม.ค. 62 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 23,600.00 -
  1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. เพื่อวางแผนดำเนินโครงการ
  2. รวบรวมกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
  4. ดำเนินการตามโครงการ   - รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการฯ   - จัดอบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย และประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมอบรม   - ส่งหนังสือเชิญให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พร้อมให้ตอบกลับผลการตรวจหากไปรับบริการตรวจที่อื่น
      - ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก   - แจ้งผลการตรวจแก่สตรีทุกคนที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก   - ติดตามผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติ และส่งพบแพทย์ทุกราย
      - ติดตามเยี่ยมผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกราย ร่วมกับ อสม. เจ้าของพื้นที่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกันเพิ่มขึ้น
  3. อัตราตายด้วยมะเร็งปากมดลูกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2562 10:46 น.