กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L1485-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลำแคลง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2562 - 17 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 17 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 11,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาฏยา อุ่นนวล นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านกลาง ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกซึ่งกำลังแผ่ระบาดอย่างหนัก และได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งนำความสูญเสียแก่หลายครอบครัวรวมทั้งประเทศชาติที่ต้องสูญเสียบุคลากรที่ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอันเป็นอนาคตของประเทศต่อไปจึงจำเป็นต้องช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้โดยด่วน จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 กันยายน 2561ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 59,104 ราย อัตราป่วย 89.47 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 71 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.13 จังหวัดตรังอยู่ลำดับที่ 40 ของประเทศ สถานการณ์จังหวัดตรังจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 กันยายน 2561 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 474 ราย อัตราป่วย 73.87 ต่อแสนประชากร  มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย อัตราป่วย-ตายร้อยละ 0.42อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอปี 2561 ในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 อันดับแรกพบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคืออำเภอเมือง อัตราป่วย 99.93 ต่อแสนประชากร รองลงมาคืออำเภอวังวิเศษ อัตราป่วย 94.03 ต่อแสนประชากร และอำเภอปะเหลียน อัตราป่วย 74.20 ต่อแสนประชากร
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง ได้เล็งเห็นถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และผลกระทบที่จะเกิดตามมาจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรค วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกอีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่บุคลอื่นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนได้

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

2.จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าหรือเท่ากับ50 ต่อแสนประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,960.00 0 0.00
17 พ.ค. 62 1.กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้ 1.1 กิจกรรมย่อย วิทยากร โดย นางสาวประไพพิศ แก้วน้อย ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข - สถานการณ์โรคไข้เลือดออก - เรื่องความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 11,960.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลงเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ 2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3. ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ 4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อาสาสมัครสาธารณสุข - อาสาสมัครสาธารณสุขเดินรณรงค์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน     - สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
5. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 6. รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนได้ 2.จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

การประเมินผล 1. หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมสามารถตอบแบบประเมินความรู้ได้มากกว่าร้อยละ ๘๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 08:50 น.