กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L1485-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 9,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา คงอินทร์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จัดอบรม ณ ลานเอนกประสงค์ รพ.สต.ปะเหลียน - เดินรณรงค์ หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ถึง โรงเรียนบ้านปะเหลียน
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล(ระบุที่มาของการทำโครงการ)           โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
      สถานการณ์ไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน หมู่ที่ ๑,๓,๘,๙ และ ๑๒  ในปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑ เท่ากับ  ๒,086.55 303.87 และ 252.02 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2559 มีอัตราป่วยสูงมาก จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/คณะทำงานควบคุมโรค มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัตความสำเร็จ -อสม./คณะทำงานควบคุมโรคมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และ มีพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ  ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และ มีพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง  ร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,400.00 0 0.00
14 ม.ค. 62 จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก 0 4,150.00 -
12 มิ.ย. 62 1.1.กิจกรรมย่อย -จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 5,250.00 -

วิธีการดำเนินการ(ออกแบบให้ละเอียด) ๒.๑ จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 2.2 ประสานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามโครงการ 2.3 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ คณะทำงานควบคุมโรค ผู้นำชุมชน และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน ๒.3 จัดอบรมให้ความรู้แก่ คณะทำงานควบคุมป้องกันโรคและประชาชนเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.4 อสม. ประชาชน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน (ทุกวันศุกร์) ทุกครัวเรือน 2.5 จัดเดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมี อสม. ผู้นำชุมชน นักเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ   ประชาชน 2.6 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. อาสาสมัครสาธารณสุข คณะทำงานควบคุมโรค มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2. ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 08:57 น.