กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
รหัสโครงการ 62-50114-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โละจูด
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินตนา เลาะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.831,101.834place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันตามแต่ละสังคม วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักาาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้อย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลงทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถ ช่วยดูแลรักาาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทยทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล่ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้ให้อยู่คู่กับชุมชน เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ สมุนไพร ไม่เพียงแต่ให้สมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพรบำรุงสุขภาพ ต่อไป     ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส มีหมอพื้นบ้านหลายราย ส่วนใหญ่อยู่ในผู้สูงอายุ ซึ่งไม่มีการสืบทอดองค์ความรู้กันหลายราย ทำให้องค์ความรู้เหล่านี้พร้อมจะหาย ถ้าไม่มีการสืบสานต่อ งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโละจูด ที่เปิดให้บริการด้านการแพท์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีการใช้องค์ความรู้ด้านหมอพื้นบ้าน สมุนไพรไทยในการรักาาโรค และการแนะนำวิธีการใช้สมุนไพรที่ถูกต้องให้กับประชาชน เพื่อไม่ให้องค์ความรู้ดังกล่าวนี้สูญหาย จึงสนใจที่จะรวบรวมข้อมูลหมดพื้นบ้านและจัดทำทะเบียนหมอพื้นบ้านในชุมชน และถอดบทเรียนการรักษาของหมอพื้นบ้านต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจและจัดทำทะเบียนหมอพื้นบ้านในชุมชน

มีทะเบียนหมอพื้นบ้านที่ผ่านการสำรวจ ร้อยละ 70

1.00
2 เพื่อให้ประชาชนและอาสาสมัครสาธรณสุขมีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและสามารถนำประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน

ประชาชนและอาสาสมัครสาธรณสุขมีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ 80

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 54 28,400.00 3 28,400.00
10 ก.ย. 62 สำรวจหมอพื้นบ้านและการจัดทำทะเบียนหมอพื้นบ้าน 7 2,650.00 2,650.00
11 ก.ย. 62 ถอดบทเรียนหมอพื้นบ้าน 7 875.00 875.00
12 ก.ย. 62 อบรมใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน 40 24,875.00 24,875.00
  1. จัดทำและขออนุมันติโครงการ
  2. ประสานงาน ชี้แจงโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
  3. ดำเนินการตามโครงการ   3.1 ออกสำรวจหมอพื้นบ้านและจัดทำทะเบียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโละจูด   3.2 ถอดบทเรียนหมอพื้นบ้านร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโละจูด   3.3 อบรมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เช่น สอนการทำยาหม่องสมุนไพร การทำน้ำมันไพลการทำสเปรย์ตะไคร้หอม การทำลูกประคบ เป็นต้น
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้มีความรู้และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
  2. ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 10:54 น.