กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน ในเขตอบต.โละจูด
รหัสโครงการ 62-50114-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โละจูด
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินตนา เลาะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.831,101.834place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ๊บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน อาหาร ที่ร่างกายเรานำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขอาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯ โดยเฉพาะในเด็ก 0-72 เดือน เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยในระยะแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติปโต พัฒนา พัฒนาการของเด็ก 0-72 เดือนปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน จะพบว่าในเขตพื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลโละจูด มีเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 19 คน จากเด็กทั้งหมด 197 คน คิดเป็นร้อยละ 9.64 เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ 39 คน คิดเป็นร้อยละ 19.79 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโละจูด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72เดือนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโละจูด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้จำนวนเด็กขาดสารอาหารลดลง

เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 85

1.00
2 เพื่อให้เด็กมีรูปร่างดีสมส่วนเพิ่มขึ้น

เด็กมีรูปร่างดีสมส่วนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70

1.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการดูแลเด็ก 0-72 เดือน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผู้ปกครองมีความเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้สามารถทำให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง พัฒนาการสมวัย

1.00
4 เพื่อให้จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและสงสัยล่าช้าลง

เด็กมีพัฒนาการสมวัยมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 95

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
29 ส.ค. 62 คัดกรองเพื่อหาเด็กที่ภาวะเสี่ยง 58 7,000.00 7,000.00
29 ส.ค. 62 สาธิตเมนูอาหารอย่างง่ายและมีประโยชน์ต่อเด็ก 0-72 เดือนโดยนักโภชนาการ 0 3,000.00 3,000.00
รวม 58 10,000.00 2 10,000.00
  1. จัดประชุมชี้แจงจัดทำโครงการ
  2. คัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยง
  3. สาธิตเมนูอาหารอย่างง่ายและมีประโยชน์ต่อเด็กได้
  4. จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและสงสัยล่าช้าลดลง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กขาดสารอาหารมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  2. เด็กมีรูปร่างดีสมส่วนเพิ่มขึ้น
  3. ผู้ปกครองเด็กสามารถทำอาหารอย่างง่ายและมีประโยชน์ต่อเด็กได้
  4. จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและสงสัยล่าช้าลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 11:08 น.