กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด


“ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง ”

ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวมาลี หมาดวัง

ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง

ที่อยู่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 32/60 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 30 เมษายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง



บทคัดย่อ

โครงการ " ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 32/60 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2560 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3,205.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญปัญหาหนึ่งของหมู่ที่ 7 ตำบลคลองขุด จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ.2559 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559-31 ธันวาคม 2559) มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการยืนยัน จำนวน 7 ราย และผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก จำนวน 15 ราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 22 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 647 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจากงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสตูล) การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ทำให้เป็นภาระของครอบครัว มีผลต่อการเรียน การทำงาน และค่าใช้จ่ายในการให้บริการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนอาจมีผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร แม้ว่าทางการแพทย์และสาธารณสุขจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการรักษาโรค รวมไปถึงเทคโนโลยีและวิธีการป้องกันและควบคุมโรค แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หมดไปได้ และยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกันกำจัดยุงที่ถูกนำมาใช้นั้นมีวิธีการหลากหลายวิธี แต่วิธีที่คนทั่วไปนิยมใช้ที่สุด คือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายที่สุดตามท้องตลาดทั่วไป ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีในการกำจัดยุงเหล่านี้อาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และเมื่อใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ได้ในเวลาต่อมาซึ่งลำพังการรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายพาหะของโรค ตามอาคารบ้านเรือน เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ การป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี โดยไม่ให้ถูกยุงลายกัด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ยิ่งกว่า โดยเฉพาะการนำพืชสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในการทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอม ใบมะรูด ผิวส้มโอ เป็นต้น เนื่องจากสมุนไพรเหล่านี้มีกลิ่นแรงยุงจะไม่ชอบ ซึ่งนอกจากเป็นการไล่ยุงแล้ว ยังส่งผลดีต่อผู้บริโภคเพราะธูปยังส่งกลิ่นหอมของสมุนไพรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ข้อดีคือสามารถไล่ยุงได้ และที่สำคัญทำมาจากสมุนไพรธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลคลองขุด กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุงเพื่อช่วยในการไล่ยุงไม่ให้ยุงกัดและแพร่เชื้อ เป็นการป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดการใช้สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายจากการใช้สารเคมีในการไล่ยุง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 12
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านใต้ หมู่ที่ 7 ลดลง
    2. สามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและฝึกปฏิบัติการจัดทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง

    วันที่ 8 เมษายน 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต สมาชิกกลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขบ้านเหนือ จำนวน 12 คน ผลลัพธ์ เพื่ออบรมรับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

     

    12 12

    2. จัดทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง

    วันที่ 10 เมษายน 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต สมาชิกกลุ่มมาร่วมกันทำธูปหอมสมุนไพร ผลลัพธ์ ได้ธูปหอมสมุนไพรใช้ป้องกันยุง

     

    12 12

    3. รณรงค์ให้มีการใช้ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุงในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก

    วันที่ 14 เมษายน 2560 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านเหนือใช้ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง จำนวน 39 หลังคาเรือน และแจกธูปหอมจำนวน 350 ก้าน ผลลัพธ์ สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุชนบ้านใต้

     

    12 12

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและฝึกปฏิบัติการจัดทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง จำนวน 350 ก้าน และรณรงค์ให้มีการใช้ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุงในพื้นที่บ้านใต้ จำนวน 39 หลังคาเรือน ซึ่งหลังจากการทำกิจกรรมดังกล่าวพบว่าในพื้นที่บ้านใต้ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อลดการใช้สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายจากการใช้สารเคมีในการไล่ยุง
    ตัวชี้วัด : สามารถจัดทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุงจากสมุนไพรได้

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 12
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 12
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดการใช้สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายจากการใช้สารเคมีในการไล่ยุง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 32/60

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวมาลี หมาดวัง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด