กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L3312-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 4 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2562
งบประมาณ 19,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารีย์ เกื้อคลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จากข้อมูลสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 พบว่า จังหวัดพัทลุงมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ของโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1,878.33 โรคเบาหวาน เท่ากับ 1,044.46 รพ.สต.บ้านทาควาย ปี 2561 พบว่า โรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 8,161.04 โรคเบาหวาน เทากับ 4,207.47 จาการคัดครองและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านทาควย ปี 2561 พบว่า เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 55.12 เสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 22.82 รพ.สต.บ้านท่าควายจึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในหมู่บ้าน ตชคือ หมู่ที่ 5.6.12.14 เพื่อผลักดันให้ชุมชนดำเนินงานร่วมภาคีเครื่อข่าย อสม.ในชุมชน ในด้านการบริหารจัดการ การระดมทรัพยากร การประสานงานในเครื่อข่ายผ่านกระบวนการ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ อย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพปัญหาและวิถีชีวิตชุมชน มุ่งหวังให้ชุมชนเกิดความเข้มแข้ง ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกับตนเองและครอบครัวและชุมชนได้อยางเหมาะสมตามสภาพปัญหา ลดปัจจัยเสี่ยงและอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง มีสุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด
  1. อัตรากลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
1.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
  1. อัตรากลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุึขภาพได้ร้อยละ 50
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 19,600.00 0 0.00
22 เม.ย. 62 อาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 4,000.00 -
22 เม.ย. 62 อาการกลางวัน 80 4,000.00 -
22 เม.ย. 62 ค่าวิทยากร 80 1,200.00 -
22 เม.ย. 62 ซื้อปากกา 80 400.00 -
22 เม.ย. 62 ค่าซื้อฌครื่องวัดความดัน 80 10,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิต 2. จัดทำโครงการเสนอกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง 3. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ทราบ 4. จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินการตามโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 80 คน 2. การติดตามประเมินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโดยทีมสุขภาพหลังจากอบรม 4 เดือน จำนวน 1 ครั้ง 3.1 จัดหาเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยง 3.2 ประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย 3.3 ตรวจวัดความดัน และตรวจระดับน้ำตาล รอบเอว และค่าดัชนีมวลกาย 3.4 ประเมินพฤติกรรมการบริโภค 3.5 สรุปเนื้อหา สำคัญ นัดหมายการพบกันครั้งต่อไป ขั้นสรุปผลโครงการ 1. สรุปผลการประเมินสุขภาพของกลุ่มเสียง ค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด รอบเอว และค่าดัชนีมวลกาย 2. รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงสามารถปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีค่าความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้ร้อยละ 50
2. อัตราผู้ป่วยรายใหม่โรคบาหวานไม่เกินร้อยละ 2.40 และความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.50

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2562 13:15 น.