กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L3016-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 17 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2562
งบประมาณ 39,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาเรียม ปูซู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลืิอดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   อำเภอเมืองปัตตานี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2557-2560 เท่ากับ 244.40 , 162.73 , 251.72 , 116.24 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับและในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย อัตราการตาย 0.80 ต่อแสนประชกร อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.69 (รง.506 อำเภอเมืองปัตตานี)   ส่วนในพื้นที่ตำบลปะกาฮะรัง พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกปี 2557-2560 มีจำนวน 14,11,19 และ 6 ราย (อัตราป่วยต่อประชากรแสน เท่ากับ 232.40 , 180.54 , 311.83 และ 108.05 ตามลำดับ) ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื่้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม   ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโโยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วย กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมแย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลปะกาฮธรังพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมกาขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเรื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปะกาฮะรังร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮธัรง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อประชากร

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในตำบลปะกาฮะรัง

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

ประชาชนให้ความควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจง อสม.และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการ 2.แต่งตั้งคณะทำงานโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภา อบต.ปะกาฮะรัง เพื่อขออนุมัติโครงการ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต.และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 5.แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.และภาคเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้อง ฯลฯ 6.ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน 7.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 8.รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัวและ อสม. 9.แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับ อสม.ในเขตรับผิดชอบ 10.ติดตามและประเมินความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมและจำทำสรุปรายงานผลส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร 2.ทำให้ประชากรในชุมชน มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2562 15:18 น.