กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านใหม่ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L2543-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขปนระจำหมู่บ้าน (อสม. ม.3)
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 14,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวดี บุตรจีน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซากีนา ดอเล๊าะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จำนวน๕ หมู่บ้านเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี ๒๕๖๑พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกจำนวน๑๕ราย โดยเป็นผู้ป่วยในเขต หมู่ที่ ๓ บ้านใหม่ จำนวน๘รายและมีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ ๓ บ้านใหม่ จำนวน ๑ ราย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงและรุนแรงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหา โดยใช้การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ ๓ บ้านใหม่ ตำบลสุไหงปาดีอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส จึงได้เล็งเห็นปัญหาของชุมชน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนบ้านใหม่ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖๒ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ประชาชนไม่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ร้อยละ ๙๐

15.00 60.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ร้อยละ ๙๐

70.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชนโรงเรียนให้น้อยลง ร้อยละ ๙๐

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 พ.ค. 62 ให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 70 14,120.00 12,920.00
21 พ.ค. 62 รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน 0 0.00 1,200.00
รวม 70 14,120.00 2 14,120.00

ดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือประชาสัมพันธุ์ให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันในโครงการ จำนวน 1 มื้อ X 50 บาท X 70 คน เป็นเงิน เป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างในโครงการฯจำนวน70 คน จำนวน2มื้อX 25 บาท x 70 คน เป็นเงิน3,500 บาท 3.ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดโครงการ. จำนวน70 ชุด X 40 บาท เป็นเงิน2,800 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน2คนๆละ 2ชั่วโมงๆละ600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 5.ค่าไวนิล ขนาด1 X 2เมตร เป็นเงิน720 บาท 6.ค่าไวนิลรณรงค์ขนาด1 X 2.80 เมตร เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 14,120 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ๒.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๓.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชนโรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2562 00:00 น.