กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ฝากครรภ์ปลอดภัย ลดซีด ลดเสี่ยง ปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวสะอูดี เบ็ญฮาวัน
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวสะอูดี เบ็ญฮาวัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.7872011935363,101.34326735391place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 20,350.00
รวมงบประมาณ 20,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว มีการตั้งครรภ์จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม แต่สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่างานในบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วย ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ไม่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้หญิงตั้งรรภ์และทารกในครรภ์ด้วย การพัฒนาคุณภาพเด็กต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ภาวะโลหิตจาง การตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น อีกทั้งปัจจุบัน พบว่า หลังจากคลอดแล้ว ทารกมักจะถูกมารดาทิ้งให้อยู่ในความดูแลของญาติ หรือผู้สูงอายุในบ้าน ส่งผลให้เด็กเกิดปัญหาภาวะสุขภาพต่างๆ เช่น เด็กเกิดภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักน้อย เด็กผอม ขาดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ขาดฉีดวัคซีน) ฟันผุก่อนวัย รวมถึงปัญหาการศึกษาของเด็ก ซึ่งอาจจะส่งผลถึงอนาคตของเด็กด้วย จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่า ปัญหาที่ยังพบเจอได้ทุกๆปี เช่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/วัยเรียน (อายุต่ำกว่า 20 ปี),การฝากครรภ์ล่าช้า (ก่อน 3 เดือน/12สัปดาห์) ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ตกเลือกหลังคลอดทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม รวมถึงตัวชี้วัดใหม่ คือ เด็กอายุ 6 เดือน มีภาวะโลหิตจาง มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าว มาจากทั้งตัวหญิงตั้งครรภ์เอง การขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความตระหนักในการดูแลตนเองและครอบครัวที่มีส่วนในการดูแล รวมถึงชุมชนและเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เข้มแข็ง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์ปลอดภัย ลดซีด ลดเสี่ยง ปี 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น,ส่งเสริมและสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด ลดความเสี่ยง/อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด เพื่อให้ลูกเกิดรอด ไม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และสามี หรือญาติ มีความเข้าใจในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูต้องเหมาะสมตลอดจนครอบครัวมีความรู้และมีบทบาทสำคัญในการร่วมมือให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์และสามี หรือญาติ มีความเข้าใจในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูต้องเหมาะสมตลอดจนครอบครัวมีความรู้และมีบทบาทสำคัญในการร่วมมือให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด

0.00
2 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมารดาตายในระหว่างคลอดและหลังคลอด
  1. ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (Early ANC) > 80%
  2. โลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 10% ใน Lab ครั้งที่ 1
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80%
  4. มารดามีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี น้อยกว่าร้อยละ 7
0.00
3 เพื่อให้ทารกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
  1. อัตรามารดาคลอดที่สถานบริการสาธารณสุข/โรงพยาบาล ร้อยละ 95
  2. น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม (Low birth weight) น้อยกว่า <7%
  3. อัตรามารดาเสียชีวิตหลังคลอด 18/1000 LB
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,350.00 0 0.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (ในวัยรุ่น/วัยเรียน) แก่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 12-18 ปี 0 11,400.00 -
??/??/???? แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ ครั้งที่ 1 และการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์(6 ครั้ง/ปี) 0 5,200.00 -
??/??/???? ลดซีด ลดเสี่ยง ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 0 3,750.00 -
  1. จัดประชุมทีมสุขภาพ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อร่วมกันค้นหา แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานอนามัยแม่่และเด็ก ในปีงบประมาณที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการเสนอขอนุมัติ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามมัสยิด และในชุมชนทั้งตำบลปุลากง
  4. ดำเนินการตามกิจกรรมโครงการนี้
    4.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ"การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร" (ในวัยรุ่น/วัยเรียน) แก่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 12-18 ปี
    4.2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ครั้งที่1 และการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์(6ครั้ง/ปี)
    4.3 จัดกิจกรรม "ลดซีด ลดเสี่ยง" ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  5. ประเมินผลโครงการและสรุรายงานผลการดำเนินงานให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและกองทุนตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายองค์กรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กแบบองค์รวมให้สำเร็จ มีคุณภาพและยั่งยืน รวมถึงหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลในระยะการตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ และในรายที่มีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการของรัฐตามมาตรฐานการส่งต่อ ตลอดจนส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้คลอดกับสถานพยาบาลของรัฐมากขึ้น เพื่อให้มารดาและทารกนั้นคลอดอย่างปลอดภัย และช่วยลดอัตราการตายในมารดาและทารก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2561 00:00 น.