กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่


“ ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน ”

ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวอาบทิพย์ เพ็ชรสกุล

ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L7258-1-5 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 62-L7258-1-5 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 260,850.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามวิธีการและรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๒๕๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์ที่๔ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส
และความเสมอภาคทางสังคมในการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งสอดคลองเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่มียุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่๑ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพและมีสุขภาพที่ดี แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่๑ พ.ศ.๒๕๖๐–๒๕๖๔ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่๓ ด้านการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ และยุทธศาสตร์ที่๔ ด้านการสร้างความเข้มแข็งของการบริหาร และนโยบายของภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน และจากรายงานประจำปี สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย พบว่า พ.ศ.๒๕๕๔ พบว่า มารดาและทารกได้รับการดูแลหลังคลอดโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขร้อยละ ๖๑.๓ และ ๖๒.๕ ตามลำดับ พ.ศ.๒๕๕๙ มารดาหลังคลอดและทารกได้รับการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๗๑.๓ และ ๗๕.๓ ตามลำดับ จากข้อมูลพบว่าการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของมารดาหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการผดุงครรภ์ไทยเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีบทบาทในงานอนามัยแม่และเด็ก ศาสตร์ด้านการผดุงครรภ์ไทยนั้นนับเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ซึ่งการผดุงครรภ์ไทยจะประกอบไปด้วยการอยู่ไฟ การทับหม้อเกลือ การประคบสมุนไพร การเข้ากระโจม ตลอดจนการนวดหลังคลอด ซึ่งเป็นการสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔ จะเป็นการพัฒนาระบบสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรค
เทศบาลนครหาดใหญ่ได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุข เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการรับบริการด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการจัดตั้งเป็นศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุขขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนด้วยการแพทย์ผสมผสาน เน้นการเรียนรู้และบูรณาการความรู้ด้านการแพทย์และภูมิปัญญาตะวันออก อีกทั้งทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้มีการดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุกมาอย่างต่อเนื่อง ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงเห็นถึงความสำคัญและจัดทำโครงการ“ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน” ขึ้นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างทั่วถึง ซึ่งในการจัดทำโครงการในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดในงานอนามัยแม่และเด็กในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ให้ได้รับการดูแลแบบบูรณาการมากขึ้นอีกด้วย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน
  2. ๒. เพื่อให้มารดาระหว่างตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานได้อย่างเหมาะสม
  3. ๓. เพื่อให้มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมส่งสุขภาำมารดาหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทย
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและหญิงหลังคลอด
  3. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 185
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. มารดาระหว่างตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง ๒. มารดาระหว่างตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และมีเจตคติที่ดีในเรื่องการผดุงครรภ์ไทย
๓. มารดาหลังคลอดที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยมีภาวะสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวดเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถทำงานได้เป็นปกติ สามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมีคุณภาพ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและหญิงหลังคลอด

วันที่ 2 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลตนเองของมารดาขณะตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด อบรมให้ความรู้ เรื่องบทบาทของแพทย์แผนไทยในงานอนามัยแม่และเด็กและสตรีหลังคลอด อบรมและสาธิต เรื่อง อาหารและสมุนไพรบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม อบรมและสาธิต เรื่อง ภูมิปัญญาไทยในการอยู่ไฟหลังคลอด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองโดยใช้แพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

200 0

2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน

วันที่ 13 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

แบ่งเป็นกลุ่ม 20 คน  ทำกิจกรรมต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ สาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง จิตวิทยากับการจัดการความเครียดขณะตั้งครรภ์ด้วยอารมณ์บำบัด สาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การนวดบรรเทาอาการปวดของหญิงต้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 2 สาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง โภชนาการและเมนูสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ฝึกปฏิบัติกิจกรรมวารีบำบัดในหญิงตั้งครรภ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หยิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้ถูกวิธี สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

60 0

3. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทย

วันที่ 18 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

แบ่งเป็น 5 รุ่น รุ่นละ 4 ครั้ง สาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การทำหัตการหลังคลอด   ขั้นตอนที่ 1 การนวดตัวและเต้านม   ขั้นตอนที่ 2 การประคบสมุนไพรทั่วร่างกาย   ขั้นตอนที่ 3 ทับหม้อเกลือ   ขั้นตอนที่ 4 การเข้ากระโจมสมุนไพร   ขั้นตอนที่ 5 ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย

 

25 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน
ตัวชี้วัด : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐
0.00

 

2 ๒. เพื่อให้มารดาระหว่างตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด : มารดาระหว่างตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ ๘๐
0.00

 

3 ๓. เพื่อให้มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย
ตัวชี้วัด : มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย ร้อยละ ๘๐
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 185
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 185
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน (2) ๒. เพื่อให้มารดาระหว่างตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานได้อย่างเหมาะสม (3) ๓. เพื่อให้มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมส่งสุขภาำมารดาหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทย (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและหญิงหลังคลอด (3) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L7258-1-5

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวอาบทิพย์ เพ็ชรสกุล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด