กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรนุช ศรีสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 158 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มนุษย์เราจำเป็นที่จะต้องมีการบริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขได้ อาหารที่บริโภคจึงต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค เนื่องจากมีสิ่งที่ทำให้เกิดโรคหลายชนิด เข้าสู่ร่างกายได้ทางปากพร้อมน้ำและอาหาร โดยเฉพาะเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ ตลอดจนพิษของเชื้อโรค และสารเคมี ซึ่งพบมากในอาหารสด อาหารที่มีการปนเปื้อนจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของอาหาร และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งชื่อเสียงของประเทศในฐานะของผู้ผลิต
จากการสำรวจสถานการณ์การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหาร ปี 2554 – 2558 พบว่าเชื้อ E.coli มีแนวโน้มลดลง ยกเว้นในปี 2557 พบร้อยละ 5.29 ซึ่งเพิ่มสูงจากปี 2556 ที่พบเพียงร้อยละ 4.06
คิดเป็นร้อยละ 1.23 และสถานการณ์การปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร 5 ชนิด ประกอบด้วย สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน และยาฆ่าแมลง พบว่า มีแนวโน้มลดลงยกเว้นสารฟอร์มาลินที่พบเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.03 ในปี 2558 จากร้อยละ 0.09 ในปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 0.94 จากสถานการณ์ข้างต้นแหล่งสะสมอาหารสดที่มีมากคือตลาดสดทำให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ มีตัวชี้วัดร้อยละของผลิตภัณฑ์อาหารสดต้องมีความปลอดภัย โดยพิจารณาจากจำนวนของผักและผลไม้สดที่มีผลการตรวจวิเคราะห์ผ่านมาตรฐานร้อยละ 70 ในการนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการตลาดดีมีมาตรฐานปี 2562 ขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย และสามารถดำรงชีวิตได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง

 

0.00
2 เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 238 40,000.00 4 40,000.00
28 ม.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า 238 8,140.00 7,854.00
4 ก.พ. 62 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 0 5,000.00 4,950.00
25 ก.พ. 62 กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค 0 17,200.00 17,020.00
28 มี.ค. 62 กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค 0 9,660.00 10,176.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจจำนวนผู้ประกอบการค้าในตลาดทั้ง 2 แห่งและขึ้นทะเบียนไว้ 1.2 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง / คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.3 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.4 จัดทำเอกสารประกอบการดำเนินโครงการ / กิจกรรม 1.5 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัสดุทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร วัสดุสำหรับการควบคุมกำจัดสัตว์และแมลงนำโรค และวัสดุไล่นกพิราบในตลาดสด
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลตลาดและสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการในตลาดสด เทศบาลเมืองกันตัง 1 ครั้ง 2.2 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลตลาดและสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการ ในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง 1 ครั้ง 2.3 ทำแผนปฏิบัติงานตรวจหาสารปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะ มือผู้สัมผัสอาหารด้วยน้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI - 2) รวมไปถึงน้ำและน้ำแข็งด้วยชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็งในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดิน 2.4 ทำแผนปฏิบัติงานตรวจหาสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิค สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดงและยาฆ่าแมลงในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง 2.5 จัดกิจกรรมรณรงค์ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกและโฟม
    2.6 สำรวจและจัดการควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคไม่ให้รบกวนแต่ก่อความรำคาญภายในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง 2.7 ติดตั้งเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการผู้บริโภคในตลาดสดอย่างน้อย 1 จุด และติดป้ายบอกไว้ชัดเจน 2.8 จัดทำบอร์ดให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน 2 จุด
  3. ขั้นประเมินผลการดำเนินการ 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการค้ามีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขาภิบาลตลาดและสุขาภิบาลอาหาร
  2. ตลาดสดปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังและตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังเป็นตลาดปลอดโฟม 100 เปอร์เซ็นต์
  4. ตลาดเทศบาลผ่านเกณฑ์ตลาดดีมีมาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2562 16:43 น.