กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อย.น้อย บูรณาการนำความรู้สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5300-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนสตูลวิทยา
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 83,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณี บุญเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ถือเป็นเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ผู้บริโภคเฝ้าระวังการรักษาสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคในการเลือกซื้อ เลือกใช้ เลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันทั้งในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนใกล้เคียง ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้สู่นักเรียนโดยตรง ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งมีการบูรณาการความรู้ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เรียน ซึ่งความรู้เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกซื้อ เลือกใช้ เลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน โรงเรียนสตูลวิทยาเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในโรงเรียน  จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อย.น้อย บูรณาการนำความรู้สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2562 เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครูและผู้ปกครองและชุมชนได้ และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู บุคลากรอื่นในโรงเรียน ผู้ประกอบการในโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ประกอบการในชุมชน โรงเรียนเครือข่ายและชุมชน ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

25.00 22.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 222,500.00 0 0.00
21 ก.พ. 62 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อย.น้อย 0 40,000.00 -
28 ก.พ. 62 กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs 0 12,000.00 -
4 มี.ค. 62 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในโรงเรียนและชุมชน 0 16,500.00 -
26 มี.ค. 62 กิจกรรมรณรงค์นำความรู้สู่ชุมชน 0 154,000.00 -

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่คณะครู ม.ค.61 2.จัดเตรียมสื่อ เอกสารและอุปกรณ์ประกอบการอบรม ม.ค. 61 3.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อย.น้อย  จำนวน 1 วัน ม.ค.-มี.ค. 62 4.กิจกรรม อย.น้อย บูรณาการนำความรู้สู่ชุมชน เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ประกอบด้วย ๔.1 กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ๔.2 กิจกรรมรณรงค์นำความรู้สู่ชุมชน
      4.3 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในโรงเรียนและชุมชน และผู้รับผิดชอบ ธ.ค.-ก.ย.62

1 วัน 1 สัปดาห์ 1 วัน 5.สรุปและประเมินผลโครงการ พร้อมรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองขุด ก.ย.62

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ๑. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างน้อยร้อยละ 100 ๒. นักเรียน อย.น้อย สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย อย่างน้อยร้อยละ 50 ผลลัพธ์ 1. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง
      2. นักเรียน อย.น้อย สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย       3. นักเรียน อย.น้อย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครู ผู้ปกครอง เครือข่ายและชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2562 09:27 น.