กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ วัยรุ่นยุคใหม่ รักจริง รอไหว ไม่ท้องก่อนวัยอันควร
รหัสโครงการ 62-L5300-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 66,545.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรณิการ์ ปานทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
15.00
2 จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น อายุ ๑๐-๑๔ ปี และอายุ ๑๕-๑๙ ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ ๓ ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย ที่นานาชาติต้องการบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓
ประเทศไทยพบการคลอดในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา      จากข้อมูลสถิติสาธารณสุข พบว่า วัยรุ่นอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี คลอดบุตรเพิ่มขึ้น จากประมาณ ๙๕,๐๐๐ คน          ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นประมาณ ๑๐๔,๓๐๐ คน ในปี ๒๕๕๘ ในจำนวนนี้ เป็นการคลอดบุตรโดยวัยรุ่นที่มีอายุน้อย นั่นคือ อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ประมาณปีละ ๓,๐๐๐ คน นอกจากนี้ วัยรุ่นอายุ ๑๐-๑๙ ปี ที่คลอดบุตรซ้ำหรือคลอดเป็นครั้งที่สองขึ้นไป มีจำนวน ๑๒,๗๐๐ คน หรือเท่ากับร้อยละ ๑๒.๒ ของการคลอดในวัยรุ่นอายุ ๑๐-๑๙ ปีทั้งหมด ซึ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่งผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพต่อตัวแม่วัยรุ่นและทารก เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า เช่น การเสียชีวิตของมารดา การเสียชีวิตของทารก ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยสถิติพบว่าในปี ๒๕๕๕ เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม) ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นอายุ ๑๕ ปี และ ๑๕-๑๙ ปี มีถึงร้อยละ ๑๘.๒ และ ๑๓.๗ ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น แม่วัยรุ่นยังมีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ข้อมูลจากการศึกษาสถานการณ์ การแท้งในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ พบว่า ประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยทำแท้ง ที่มีภาวะแทรกซ้อนและเข้ามารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ซึ่งจากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต.คลองขุด (สาขา) ๓ ปีย้อนหลัง (ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๑) พบปัญหาวัยรุ่นอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี มีการตั้งครรภ์ จำนวน ๒,๓,๔ คน ตามลำดับ พบปัญหาวัยรุ่นอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี มีการตั้งครรภ์ จำนวน ๑๕,๑๒,๑๐ คน ตามลำดับ ปัญหาวัยรุ่นอายุ ๑๐-๑๙ ปี ที่คลอดบุตรซ้ำหรือคลอดเป็นครั้งที่สองขึ้นไป จำนวน ๖, ๒, ๓ คน ตามลำดับ ปัญหาเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม) ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี โดยเฉลี่ยร้อยละ ๑.๗ ต่อปี ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหางานอนามัยแม่แด็ก ๓ ปีย้อนหลัง พบว่า กลุ่มวัยรุ่นในวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ควรได้รับการความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องพัฒนาการของวัยที่เหมาะสม โดยวิทยากรสาธารณสุขผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนครอบครัวที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย การฝึกทักษะการใช้ชีวิตด้านเพศที่เหมาะสมโดยการจัดกิจกรรมร่วมกันของหน่วยงานสาธารณสุข โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อีกทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและแก้ไขอย่างเร่งด่วนในปัจจุบัน เพื่อลดปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี  โรคเอดส์ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ วัยรุ่นยุคใหม่ รักจริง รอไหว ไม่ท้องก่อนวัยอันควร ปี ๒๕๖2 ขึ้น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียน ชุมชนและแม่วัยรุ่น เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว อนามัยวัยเจริญพันธ์ และพัฒนาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้อย่างถูกต้อง ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่น ลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น โดยให้มีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

15.00 10.00
2 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)

12.00 15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

19 มี.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เด็ก 57,645.00 -
27 มี.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แม่วัยรุ่น 8,900.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง กุมภาพันธ์ ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กุมภาพันธ์ ๓. จัดกิจกรรมอบรม
๓.๑ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน
๓.๒ กิจกรรมอบรมติดตามแก่เด็กนักเรียน ๓.๓ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แม่วัยรุ่น ๓.๔ กิจกรรมอบรมติดตาม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่แม่วัยรุ่น กุมภาพันธ์ – มิถุนายน ใช้เวลา ๑ วัน ใช้เวลา ๑ วัน ใช้เวลา ๑ วัน ใช้เวลา ๑ วัน ๔ ติดตามผลการดำเนินโครงการ มิถุนายน – สิงหาคม ๑ เดือน ๕. สรุปและรายงานผล ภายใน ๓๐ วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ลดลง อยู่ในเกณฑ์ < ร้อยละ ๑๐ 2. เยาวชน กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษา และพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่ วัยรุ่นหลังการอบรม ร้อยละ ๙๐ 3. เกิดแกนนำเครือข่าย “วัยรุ่นยุคใหม่ ฉลาดรู้เรื่องเพศ” ในโรงเรียน เพื่อเป็นกระบอกเสียงในการ ประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนนักเรียน ผลลัพธ์ ๑. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ลดลง ๒. เยาวชนในวัยเรียนมีความรู้เรื่องเพศและสามารถเข้าใจพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
๓. เครือข่าย “วัยรุ่นยุคใหม่ ฉลาดรู้เรื่องเพศ” เป็นเครือข่ายที่มีแกนนำ ที่มีความรู้ด้านเพศศึกษา
และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกในเครือข่ายและนักเรียนอื่นๆในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2562 10:03 น.