กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังรักจากแม่เพื่อลูกน้อยสุขภาพดี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เมษายน 2562 - 10 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 10 พฤษภาคม 2562
งบประมาณ 20,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮานาน มะยีแต
พี่เลี้ยงโครงการ นางฟาอีซะห์ หะมิ
พื้นที่ดำเนินการ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแพทย์ และการสาธารณสุขก้าวไกลไปมาก พบว่าการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ดี สามารถลดอัตราตายของมารดาและทารกในครรภ์(Fetal mortality)ได้ถึงร้อยละ 40 จึงเริ่มมีการรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์มีการดูแลขณะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยในการตั้งครรภ์และการคลอด จากการประชุมระดับโลกที่ประเทศเคนยา ว่าด้วยความปลอดภัยของมารดา ระบุว่าสาเหตุการตายทีึ่สำคัญของสตรีทั่วโลกเกิดจากการตั้งครรภ์และการคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาทางด้านสาธารณสุของค์การอนามัยโลกมีมัติให้รัฐบาลของทุกประเทศดำเนินการลดอัตราการตายของมารดาของแต่ละประเทศลงครึ่งหนึ่งและกำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพงานบริการอนามัยแม่และเด็ก จัดให้มีแหล่งบริการที่เพียงพอ และจัดให้มีแหล่งดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ประเทศไทยมีการพัฒนางานบริการอนามัยแม่และเด้กมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 เพื่อให้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และการทำคลอดที่ทันสมัย แต่การดูแลหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่าคนในเมืองการฝากครรภ์ในระยะเริ่มต้นมีน้อย ประโยชน์ของดูแลหญิงตั้งครรภ์นอกจากการลดอัตราการตายของมารดาแล้วยังช่วยลดปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพประชากร เช่น การติดเชื้อเอช ไอ วี จากแม่สู่ลูก การลดอัตราการเกิดโรคธาลาสซีเมียในเด้ก และการเกิดทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ อัตราการเกิดปัยหาเหล่านี้ในประชากรลดลงตลอด อันเป็นผลมาจากการพัมนางานบริการอนามัยแม่และเด็กเน้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีนโยบาย โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ ลูกที่มุ่งเน้นส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อการพัฒนาและการเสริมสร้างให้มารดาดูแลตนเองที่ถุกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่ทารกในครรภ์สุขภาพดี และเติบโตสมมีพัฒนาการสมวัย เพื่อให้ประชาชนตำบลปูยุดได้รับการดูแล และรับรู้ข่าวสารได้ทั่วถึง สามารถลดอัตราตาย และลดความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ของสตรีนั้น จึงเห็นควรจัดโครงการพลังรักจากแม่เพื่อลูกน้อยสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องปัญหาและความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

ประชาชนได้รับองค์ความรู้ในเรื่องปัญหาและความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในเรื่องการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

ประชาชนเกิดความตระหนักในเรื่องการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

0.00
3 เพื่อเสริมศักยภาพให้มารดาเลี้ยงลูกให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย

ประชาชนเกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงลูกให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย

0.00
4 เพื่อลดอัตราการตายของหญิงตั้งภรรภ์และทารกในครรภ์

อัตราการตายของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดประชุมทีมงานสุขภาพและเครือข่าย เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดการอบรมความรู้การดูแลสูขภาพตลอดช่วงการตั้งครรภ์ และการป้องกันความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และการป้องกันความเสี่ยงขณะตั้งตรรภ์
  4. จัดอบรมการดูแลบุตร และการเลี้ยงดูบุตรให้มีสุขภาพแข็งแรง พัฒนาการดี และสมส่วน
  5. จัดกลุ่มเสวนา เรื่องการรับมือ และการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์
  6. สรุปและประเมินผลกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับองค์ความรู้ในเรื่องปัยหาและความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักในเรื่องการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์
  3. ประชาชนเกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงลูกให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย
  4. อัตราการตายของของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภืลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2562 09:59 น.