กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี
รหัสโครงการ 2562-L7572-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านปากแพรก
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 24,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมหมาย รักสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องของสุขภาพประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จกสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการ รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆและอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่งสูงขึ้น โงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดเพื่อรองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป้นภาระที่รัฐจะต้องเสียงบประมาณเป็นอันมาก และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการบริโุภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือผัก ผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ปลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธี เพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ ทำให้สารเคมีที่เป้นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และส่งเสริมารปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนการปลูกผักรับประทานเองแบบอินทรีย์เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยผู้บริโภคได้รับสารอาหารี่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง และปัจุบันบ้านเมืองของเราเต็มไปด้วยขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ที่แต่ละบ้านต่างนำมาทิ้งโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้การเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์ที่มีมากขึ้น การส้รางที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรลดลง ส่งผลให้ผักมีสาราคาสูง

ชุมชนบ้านปากแพรก ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เล็งเห้นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและมองเห็นประโยชน์ของขวดพลาสติกและเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านั้น เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การนำขวดพลาสติกเหลือใช้ ยางรนยนต์เก่าๆ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยการนำเอาขวดพลาสติก ยางรถยนต์เก่าๆมาทำเป็นกระถางปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง สามารถช่วยลดปริมาณขยะ ลดโลกร้อน อีกทั้งนังช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านและสร้าวรายได้ให้กับรอบครัวอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคที่ถูกหลักอนามัยและเกิดความตระหนัถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น เนื่องจากได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษและไม่มีสารตกค้าง

 

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของคนในชุมชน

 

0.00
5 เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงุสดอย่างคุ้มค่า ลดขยะในชุมชน สังคม และลดภาวะโลกร้อน

 

0.00
6 เพื่อลดรายจ่ายในครัเรือนที่เป็นอยู่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 950.00 3 24,360.00 -23,410.00
1 ก.พ. 62 - 31 พ.ค. 62 อบรมหลักสูตรปลูกผักสวนครัวฯ วันที่ 1 0 0.00 15,910.00 -15,910.00
1 ก.พ. 62 - 31 พ.ค. 62 อบรมหลักสูตรปลูกผักสวนครัวฯ วันที่ 2 0 0.00 5,000.00 -5,000.00
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผล 0 950.00 3,450.00 -2,500.00
รวมทั้งสิ้น 0 950.00 3 24,360.00 -23,410.00

ขั้นเตรียมการ

-ประชุมวางแผนการให้ความรู้ จัดตั้งทีมงานที่เป็นผู้ประสานสมาชิกที่ปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเองเพื่อสร้างแรงจูงใจ

-ศึกษาข้อมูลีท่เกี่ยวข้อง เรื่องการปลูกผักในขวดพลาสติกและเกษตรเขตเมือง และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

ขั้นปฏิบัติ

-ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก และดูแลผักอินทรีย์ เพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาก่อนลงมือปฏิบัติ

-แจกจ่ายและปลกเปลี่ยนพันะุ์ผัก

-กระตุ้นการนำเสนอ ของผู้เข้าร่วมโครงการในการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดวิทยาการซึ่งกันและกัน

-จัดให้มีการนำเสนอผลผลิต อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดระยะเวลา ตามความเหมาะสม

-ศึกษาดูงานจากศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเสริมแรงจูงใจ

ขั้นประเมินผล

-การนำเสนนอผลงานที่กำลังเพาะปลูก ผล ผลผลิตที่สำเร็จแล้ว

-มีการสำรวจความก้าวหน้าของโครงการ โดยวัดจาก อัตราการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อการบริโภค (จำนวนครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ)

-ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตในการปลูกดีขึ้น

ขั้นปรับปรุงและพัฒนา

-มีการสรุปปัญหาที่ได้จากการดำเนินการที่ผ่านมา โดนดูตัวชี้วัดจากการประเมินผลและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

-ส่งเสริมให้เกิดธนาคารพันธุ์พืชสวนครัว สำหรับให้บริการสามชิก

-ประชาสัมพันะ์โครงการ เสียงตามสายของเทศบาล ก่อนและหลังดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรมเกิดทักษะและสมารถปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคได้อย่างถูกวิธี

2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคที่ถูกปลักอนามัยและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

3.ผู้เข้ารับการอบรมมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น เนื่องจากได้รับพืชผักที่ปลอดสารพิและไม่มีสารเคมีตกค้าง

4.ผู้เข้ารับการอบรมเสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแปลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของคนในชุมชนสามารถพัฒนาอาชีพ และมีงานทำที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

5.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ

6.ครัวครัวผู้เข้ารับการอบรมได้รับประโยชน์จากการปลูกผักและบริโภคเอง ประหัดและส่งเสริมการเกษตรแบบพอเพียง

7.ลดทรัพยากรขยะในชุมชนและลดภาวะโลกร้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2562 10:47 น.