กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดด่อ ชุมชนโสภณดิษฐ์อินทร์
รหัสโครงการ 2562-L7572-02-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนโสภณดิษฐ์อินทร์
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2562 - 30 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 20,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอื้อน ไชยเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนโสภณดิษฐอินทร์ ปัจจุบันตั้งอยู่ติดกับตลาดสดเทศบาลเมืองพัทลุงไปทางทิศเหนือ มีเนื้อที่ 125 ไร่ มีถนนและซอย 9 สาย มี 320 ครัวเรือน ผู้อาศัยอยู่จริง 180 ครัวเรือน ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยแออัด อยู่ใกล้ๆ ตลาดสด มีเนื้อที่ว่างเปล่าประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด สภาพปัจจุบัน ถนนและทางเท้าเกือบทุกสาย มีสิ่งกีดขวางยากแก่การสัญจรไปมา เช่น กระถางต้นไม้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนสินคาวางขายและรอขาย กลายเป็นแหล่งขยะ เศษวัสดุมากมาย ยากแก่การจัดการทำความสะอาด ทั้งบนถนนและทางเท้า พื้นที่บางส่วน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายนโยบายของจังหวัดพัทลุงกำหนดให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดบริหารจัดการขยะ สนองนโยบายรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมท่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน ไม่ให้เพิ่มขึ้น และเป็นภาวะเสี่ยง การเกิดโรคต่างๆ จากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เช่น โรคเลปโตสไปโรซีส โรควัณโรค โรคไข้หวัด และโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบบ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธ์โดยวางไข่ ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิดชุมชนโสภณดิษฐอินทร์เห็นความสำคัญปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ กำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดต่อชุมชนโสภณดิษฐอินทร์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ หมักหมมหรือก่อให้เกิดโรคต่างๆ

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index≤10)

0.00
2 เพื่อจัดการขยะในครัวเรือนตามความเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ

ปริมาณขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ

ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,100.00 5 20,835.00
3 ม.ค. 62 - 28 ก.พ. 62 ประชุมชี้แจงแนวทาง 0 500.00 500.00
31 ม.ค. 62 - 28 ก.พ. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 7,600.00 7,600.00
28 ก.พ. 62 - 31 มี.ค. 62 กิจกรรมพัฒนาปรับภูมิทัศน์ในชุมชน 0 8,500.00 8,600.00
28 ก.พ. 62 - 30 ก.ค. 62 กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งก่อโรค 0 3,000.00 3,135.00
1 - 30 ก.ค. 62 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 1,000.00

1.ประชุมชี้แจงแนวทาง เพื่อศึกษาปัญหา วางแผน กำหนดรูปแบบในการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน ,คณะกรรมการ อสม.และคณะทำงาน

  2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับประชาชนรับรู้และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  3.จัดอบรมให้ความรู้ แนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก การจัดการขยะในครัวเรือน การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน พร้อมเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ แจกให้ทุกครัวเรือน

  4.กิจกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน การปรับปรุงภูมิทัศน์ (Big cleaning day) 3 เดือนครั้ง

  5.กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งก่อโรค แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง

  6.กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 3 เดือน ครั้ง

  7.ประชุมคณะดำเนินงาน เพื่อรับทราบปัญหา และกำกำหนดแนวทางแก้ไข

  8.สรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี

2.มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

3.ประชานสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2562 10:55 น.