กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์เพื่อร่วมขจัดภัยโรคไข้เลือดออก ตำบลโคกหล่อ ปี 2562
รหัสโครงการ 2562-L1490-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 21,452.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมปอง ลุ้งบ้าน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในแต่ละปีมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจำนวนมาก พบมีการแพร่ระบาดของโรคทุกจังหวัดและมีผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียชีวิตทุกปี ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออก  พบผู้ป่วยได้ตลอดปีและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมชนเมืองเพิ่มมากขึ้น มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะและเอื้อต่อการเกิดโรคโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมือง ประชากรอาศัยอยู่กันแออัด ประกอบอาชีพทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบบริเวณบ้าน เช่น เศษวัสดุที่ขังน้ำได้ทุกชนิด  จานรองกระถางต้นไม้ แจกันไหว้พระ ยางรถยนต์หรือสิ่งของเหลือใช้ที่ถูกทิ้งไม่ได้สนใจ ทำให้กลายเป็นที่วางไข่    ของยุงลายตัวเต็มวัยและตัวยุงลายจะเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก ต่อไป

มาตรการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง คือ การควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่ คือ หลักการทำให้แน่ใจว่ายุงที่มีเชื้อไข้เลือดออก ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยการฉีดพ่นสเปร์ยฆ่ายุงลาย ในบ้านผู้ป่วยทันที ควบคู่กับการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงในรัศมีอย่างน้อย 50 เมตร จากบ้านผู้ป่วย ร่วมกับการติดตามเฝ้าระวังค้นหาผู้ที่มีอาการไข้สูงเกิน 48 ชั่วโมง แนะนำให้ได้พบแพทย์โดยเร็วที่สุดเป็นการลดช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะถูกยุงลายกัดที่บ้าน ซึ่งสามารถช่วยลดการแพร่กระจายของโรค  ในพื้นที่ได้

นอกจากนี้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ยังมีความจำเป็นในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารสถานการณ์โรค ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบต่อเนื่อง โดยการรณรงค์ผ่านช่องทางที่มี เช่น รถประชาสัมพันธ์    หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อกระตุ้น สร้างกระแสให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการสำรวจกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านของตนเอง เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุง ลดจำนวนยุงลาย ทำให้ความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกก็จะลดลงด้วย

ข้อมูลทางระบาดวิทยา 3 ปีย้อนหลัง ตำบลโคกหล่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออก ปี 2558 พบผู้ป่วย 28 ราย(อัตราป่วยเท่ากับ 210.10 ต่อแสนประชากร) ปี 2559 พบผู้ป่วย 25 ราย(อัตราป่วยเท่ากับ 189.10 ต่อแสนประชากร)และปี 2560 พบผู้ป่วย 16 ราย(อัตราป่วยเท่ากับ 120.53 ต่อแสนประชากร) จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก  มีแนวโน้มลดลง แต่อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกยังสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้(อัตราป่วยต่อแสนประชากร ไม่เกิน 50) นอกจากนี้การเกิดโรคตามหลักการระบาดวิทยา พบว่าการเกิดโรคไข้เลือดออกจะระบาด  ทุกๆ 2 ปี เว้น 1 ปี ดังนั้นจึงคาดคะเนการเกิดโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกหล่อ ปี 2562 น่าจะพบผู้ป่วยเพิ่มมากกว่า

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ จึงได้จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกหล่อ เพื่อจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งสถานการณ์และกระตุ้น ให้ประชาชนได้มีการป้องกันตนเอง

ภาพการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน  ในพื้นที่

0.00
2 เพื่อประชาชนในครัวเรือน ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค

ภาพกิจกรรมครัวเรือน มีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในบ้านและบริเวณบ้านของตนเอง

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก

จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,452.00 0 0.00
30 ม.ค. 62 รณรงค์ไข้เลือดออกในพื้นที่ 0 14,952.00 -
1 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก 0 4,000.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 กิจกรรม Big cleaning day 2 ครั้ง 0 2,500.00 -

1.เขียนโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ

2.กิจกรรม แบ่งเป็น 2 ช่วง


ก่อนระบาด

1.กำหนดพื้นที่เสี่ยง รายหมู่บ้าน

2.สำรวจลูกน้ำหลังคาเรือนพื้นที่เสี่ยง

3.ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อทราบปัญหา

4.ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อแจ้งสถานการณ์และกระตุ้น ให้ประชาชนได้มีการป้องกันตนเองและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

5.จัดกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อกำจัดแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย ทุกหมู่บ้าน


ช่วงระบาด

6.จัดกิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ระดับตำบล 2 ครั้ง

7.จัดกิจกรรม Big Cleaning Day พื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก / พบผู้ป่วย

8.จัดกิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

9.ประสานการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ก่อนเปิดภาคเรียนหรือเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

10.กิจกรรมให้สุขศึกษาในโรงเรียน (วันประชุมผู้ปกครองนักเรียน)

11.รับแจ้งผู้ป่วยจากโรงพยาบาล งานระบาดวิทยา ผู้ป่วยอาการสงสัยโรคไข้เลือดออก จาก อสม./เครือข่ายดำเนินการเยี่ยมบ้าน สอบสวนโรค ให้สุขศึกษา การป้องกันควบคุมโรค ภายใน 24 ชั่วโมง

12.สำรวจลูกน้ำยุงลาย บ้านผู้ป่วย ละแวกบ้านใกล้เคียง รัศมีอย่างน้อย 50 เมตร (ประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า CI HI)

13.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบสถานการณ์และสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้

2.จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2562 09:52 น.