กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ บ้านบนเขา เราร่วมใจ ใฝ่ออกกำลังกาย คลายปวดเมื่อย
รหัสโครงการ 60/L8404/02/13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.10
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 ธันวาคม 2559 - 26 ธันวาคม 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยกจันทะนา
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.น้ำน้อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาการมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเท่สนั้น สิ่งสำคัญคือขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวของตนเอง การดูแลสุขภาพตนเองนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสมครบถ้วนทางด้านโภชนาการและมีประโยชน์ต่อร่างกาย การงดสูบบุหรี่ดื่มสุรา การออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายให้สุขภาพดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งจะเกิดผลดีต่อหัวใจและปอด ระบบประสาท ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่างๆ และยังทำให้อารมณ์ดีมีความสุขอีกด้วย ปัจจุบันประชาชนจะมีพฤติกรรมแน่นิ่ง มองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จากการสำรวจระดับการมีกิจกรรมทางกายที่พอเพียงในประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่าคนไทยมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดลงจากปีพ.ศ 2550 ที่ร้อยละ 85 และปีพฬศ 2551 ร้อยละ 82 เป็นร้อยละ 62-68 ในปี พ.ศ 2552-2557 ร้อยละ 72 ในปี พ.ศ 2558และล่าสุดร้อยละ 42 ในปีพ.ศ 2559 ทำให้พบการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ,2559) จากรายงานสถิติสาธารณสุข พ.ศ2550-2556 พบว่าจำนวนและอัตราผู้ป่วยในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดโรคหลอดเลือดสมองใหญ่หรืออัมพฤกษ์อัมพาต และโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกโรคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2556 กลุ่มโรคไม่ติดต่อ เป็นกลุ่มโรคที่องค์การอนามัยโรคให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอย่างเร่งด่วนคือ 4 กลุ่มโรคหลักประกอบด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคปอดเรื้อรังในปี พ.ศ.2557 จำนวนและอัตราผู้ป่วยในต่อประชากรแสนด้วยโรคติดต่อที่สำคัญได้แก่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,014,231 อัตรา 1561.42,โรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 264,820 อัตรา 407.69,โรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จำนวน 228,836 อัตรา 352.30 และโรคเบาหวาน จำนวน 670,664 อัตรา 1,032.50
จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงประชากร หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ.2559 โดยการใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัว สำรวจโดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมเสี่ยงที่พบมากที่สุดคือ การไม่ได้ออกกำลังกายร้อยละ 52 รองลงมาคือ การรับประทานอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม จัด ) ร้อยละ 18.58 สูบบุหรี่เป็นประจำ(สูบทุกวัน) ร้อยละ 16.81 และจากการประชุมการทำประชาคมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2559 ประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องของการออกกำลังกายและการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งจากการสอบถามประชาชนเพิ่มเติมพบว่าประชากรหมู่ที่ 10 ตำบลน้ำน้อย ส่วนใหญ๋ไม่ได้ออกกำลังกาย เนื่องจากเวลาไม่ตรงกัน และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยางในตอนกลางคืน ทำให้ต้องนอนพักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน เพราะเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อเข่า ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆตามมา จากสภาพปัญหาและสาเหตุดังกล่าวข้างต้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาจึงได้ร่วมจัดทำโครงการ " บ้านบนเขา เราร่วมใจ ใฝ่ออกกำลังกาย คลายปวดเมื่อย" ขึ้น โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องผลกระทบจากการไม่ออกกำลังกาย และการบริหารร่างกายคลายปวดเมื่อยด้วยกะลา การออกกำลังกายด้วยกะลาโนราบิค ซึ่งการออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันโรคเรื้อรังชนิดต่างๆและภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการไม่ออกกำลังกาย และประโยชน์ของการออกกำลังกาย

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการไม่ออกกำลังกายและประโยชน์ของการออกกำลังกาย

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายมากขึ้น

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 52.8 เป็นร้อยละ 70 มีการออกกำลังกายมากขึ้น

3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในเรื่องการออกกำลังกาย ร้อยละ 60

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 52.8 เป็นร้อยละ 70 มีความตระหนักในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการไม่ออกกำลังกาย และประโยชน์ของการออกกำลังกาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในเรื่องการออกกำลังกาย ร้อยละ 60

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นที่เตรียม 1.เตรียมความพร้อม -ประชุมปรึกษา ร่วมวางแผนการจัดทำโครงการ -แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการผู้รับผิดขอบโครงการ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ -ร่วมเขียนโครงการ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ -ประชาสัมพันธ์โครงการ -จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร คู่มือความรู้ต่างๆ -จัดเตรียมสถานที่ ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 หมู่ 10 ขยับนิด พิชิตโรคเรื้อรัง วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2559 ประกอบด้วย 1.ลงทะเบียน และแจกแบบประเมินวัดความรู้ก่อนทำกิจกรรม 2.แจกบัตรประจำตัวสุขภาพ พร้อมทั้งตรวจวัดคัดกรองระดับความดันโลหิต 3.กล่าวรายงานการจัดทำโครงการโดย นายยกจันทะนา ผู้รับผิดชอบโครงการ 4.กล่าวเปิดงาน โดยเรียนเชิญนายกเทศบาลตำบลน้ำน้อย คุณธงชัยเส้งนนท์ 5.กิจกรรมนันทนาการ 6.ให้กลุ่มเป้าหมายทำกิจกรรมที่ 1 ดังต่อไปนี้ กิจกรรมที่ 1.1 รู้ทัน ใส่ใจ ห่างไกลโรคเรื้อรัง มีกิจกรรมได้แก่ 1.บรรยายเรื่องผลกระทบจากการไม่ออกกำลังกาย โดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ใช้ภาพพลิกแสดง พร้อมแจกแผ่นพับ 2.ตอบคำถามชิงรางวัล กิจกรรมที่ 1.2 กะลา คลายปวดเมื่อย 1.สาธิตการคลายกล้ามเนื้อด้วยกะลา และให้กลุ่มเป้าหมายสาธิตย้อนกลับ กิจกรรมที่ 1.3 ขยับกาย สบายชีวี ด้วยวิธีกะลาโนบิค 1.ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์การออกกำลังกายด้วยวิธีกะลาบิค และโนราบิคในการผ่อนคลายความปวดกล้ามเนื้อและประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง 2.สอนและสาธิตท่าออกกำลังกายด้วยวิธีกะลาโนบิค และโนราบิค กิจกรรมที่ 2 ขยับกายสบายชีวี ด้วยวิธีกะลาโนบิค วันที่ 23-26 ธันวาคม พ.ศ.2559 เวลา 16.30-17.00 น. ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1.ลงทะเบียน 2.ออกกำลังกายโดยวิธี กะลาโนราบิคร่วมออกกำลังกายร่วมชุมชน ขั้นสรุป 1.ประเมินผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 2.สรุปผลการประเมิน 3.จัดทำรายงานโครงการ 4.ส่งมอบงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง และในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น 2.กลุ่มเป้าหมายมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลง 3.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อผู้อื่นได้ 4.กลุ่มเป้าหมายรวมตัวกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 5.เกิดความสามัคคีในชุมชนในการร่วมกันออกกำลังกาย นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพ 6.เกิดต้นแบบที่ดีในการออกกำลังกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 15:05 น.