กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาตำบลบางเก่า
รหัสโครงการ 62-L3055-10-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ต.บางเก่า
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยีย๊ะ ยะพา และนางซีซ๊ะ เจะโวะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,101.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) หรือไข้ปวดข้อยุงลาย ที่มีทั้งยุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค พบได้ทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ โดยในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการ ปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลาย ๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบทูนิเก้เทสท์ให้ผลบวก และจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังได้         สำหรับสถานการณ์โรคชิคุนกุนยาในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 ธ.ค. 2561 มีรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยจำนวน 3,444 ราย ใน 14 จังหวัด ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับ คือ สงขลา( 165.47 ต่อประชากรแสนคน ) รองลงมาเป็นสตูล (70.92) ภูเก็ต (45.47) ปัตตานี (36.86) และนราธิวาส (36.32) ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในบางอำเภอในพื้นที่ที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว สำหรับจังหวัดสงขลา (ตั้งแต่ 1 มค – 31 ธค 2561) พบผู้ป่วยโรคชิกุนคุนยา จำนวน 2,351 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 24-34 ปี และ 35-44 ปีตามลำดับ พบอัตราป่วยสูงในอำเภอหาดใหญ่ บางกล่ำ เมืองสงขลา ตามลำดับ       ตำบลบางเก่าเป็นอีกตำบลหนึ่งที่มีการระบาดของโรคชิคุณกุนยาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2562 พบว่าสถิติประชาชนที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยามี จำนวน 20 ราย ถือเป็นอันดับสองของอำเภอสายบุรี อสม.ตำบลบางเก่าจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาตำบลบางเก่าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันประชาชนจากโรคชิคุณกุนยา เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลป่วยจากโรคชิคุนกุนยาลดลง 2. การระบาดของโรคชิคุนกุนยาลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2562 14:09 น.