กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L3042-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลตาแกะ
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาอีดะ สตาปอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2562 30 เม.ย. 2562 39,720.00
รวมงบประมาณ 39,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดารงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทาให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทาให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไขจากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจานวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะปลอดภัยหน้า 7 หลัง 7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สาหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ  เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตทีเกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้าหนักน้อย บางรายหาทางออกโดยวิธีการทาแท้ง ผลจากการทาแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต ประกอบกับปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดเด็กและเยาวชน เป็นหมายของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดำเนินการการสอนหรือฝึก ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจและสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สภาเด็กและเยาวชนตำบลตาแกะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำ โครงการคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตาแกะ เพื่อให้นักเรียน เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา และส่งเสริม วิธีป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน เพื่อจะได้สามารถร่วมมือกันปกป้องเด็กและเยาวชน จากปัญหายาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษาและพัฒนาการของตนเอง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น พร้อมทั้งเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความ ภาคภูมิใจในตนเอง

 

0.00
2 เพื่อปลุกจิตสำนึกของเด็กนักเรียนและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,720.00 1 39,720.00
??/??/???? 1. อบรมความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น 0 39,720.00 39,720.00
  1. จัดทำโครงการขออนุมัติต่อผู้บริหาร
  2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดาเนินการ
  3. จัดประชุมคณะกรรมการดาเนินการ
  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. กำหนดการจัดการอบรมให้ความรู้ นักเรียน เยาวชน
  6. ประเมินผลโครงการ สรุปการประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของวัยรุ่น
  2. เด็ก เยาวชนมีความรู้และมีทักษะ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษา
  3. เด็ก เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้คุณค่าของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2562 00:00 น.