คนสาธารณสุขร้อยรัก รวมใจ ดูแลคนสูงวัยสู่สังคมสูงอายุสุขภาวะอย่างภาคภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ปี 2560
ชื่อโครงการ | คนสาธารณสุขร้อยรัก รวมใจ ดูแลคนสูงวัยสู่สังคมสูงอายุสุขภาวะอย่างภาคภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ปี 2560 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว |
วันที่อนุมัติ | 8 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 152,560.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมาริสา มากเพ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.978,99.731place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ก.พ. 2560 | 30 ก.ย. 2560 | 152,560.00 | |||
รวมงบประมาณ | 152,560.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 600 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการเพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 10.7 ในปี 2550 (7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 11.8 (7.5 ล้านคน) ในปี 2553 และร้อยละ 20.0 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2551) นับว่าอัตราการเข้าสู่ "ภาวะประชากรสูงอายุ (Population Ageing)" เร็วมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม อัตราส่วนการเป็นภาระวัยสูงอายุ หรืออัตราพึ่งพิงวัยสูงอายุในปี 2537 เป็น 10.7 เพิ่มขึ้นเป็น 14.3 ในปี 2545 และเพิ่มขึ้นเป็น 16.0 ในปี 2550 หมายความว่าประชากรวัยทำงาน 100 คน ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 16 คน ประกอบกับสัดส่วนสูงอายุที่อยู่ตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 6.3 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 7.7 ในปี 2550 และร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในครัวเรือน อยู่ได้โดยไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญหา ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกเหงาร้อยละ 51.2 ไม่มีคนดูแลเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2551) ผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จากการตรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายพบว่าผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ต้องมีคนดูแลบางเวลาร้อยละ 52.2 และต้องมีคนดูแลตลอดเวลาร้อยละ 10.2 (เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม,2547) จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ โดยเฉพาะคือ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคมสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ พ.ญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) เพื่อสะท้อนถึงการเตรียมความพร้อมของภาครัฐ เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่งวดเข้ามาทุกที ปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์"ในอีก 8 ปีข้างหน้า หรือปี 2564 ที่จะมีถึง 1 ใน 5 จากที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วโดยมีสัดส่วนคนอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 10% เมื่อปี 2543 (ตามนิยามองค์การสหประชาชาติ) และคาดว่าจะเป็นสังคมระดับสุดยอด คือมากถึง 30% ในอีก 20 ปี หรือปี 2578
อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี2550 พบว่าร้อยละ 69.3 ของประชากรในกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเพิ่มขึ้นเป็น 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป โดยภาวะการเจ็บป่วยโดยเรื้อรัง 6 โรคพร้อมกันถึงร้อยละ 70.8 และหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพจากปัญหาสุขภาพเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ ร้อยละ 18.9 มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้นาน 6 เดือน เป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูงและต้องการคนดูแลตลอดเวลา
จากการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสใน 3 ปี ที่ผ่านมาของตำบลหนองบัว(ปี 2557 - 2559) พบผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด(คิดจากทะเบียนราษฎร์)ร้อยละ 10.78, 37.27 และ43.09 กลุ่มเสี่ยงโรคเรื่อรังร้อยละ 28.84 , 17.92 และ 16.63 ผู้ป่วยรายใหม่ 3.15 ,3.96 และ 2.65 และจากการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงรายใหม่ 5 , 3 และ 3 ร้อยละ 1.37, 0.58 และ 0.53
แต่จากการทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใน 3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าอัตราผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งได้สังคมผู้สูงอายุแล้ว และร้อยละผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจาเป็นยอดสะสม แต่ร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ และกลุ่มเสี่ยงลดลงแต่ทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ถ้าไม่ได้รับการเฝ้าระวังดูแลอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะก้าวไปสู่ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงได้และรัฐก็จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ปีละประมาณ 2,000,000 บาท จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวได้ปรับรูปแบบการดำเนินงานดูแลเป็นรูปแบบการจัดมหกรรมคัดกรอง ส่งเสริม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียวโดยให้มีสิ่งจูงใจ และกระตุ้นให้เกิดพลังทางบวกที่จะพัฒนาพฤติกรรมเพื่อลดโรค และความรุนแรงของโรคและเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลหนองบัวได้รับการดูแลและพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งผู้ป่วยรายใหม่ลดลง กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ลดลงและผู้ป่วยติดเตียงลดลง
จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่จะดำเนินการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลหนองบัวเช่นปีที่ผ่านมาเพื่อดูแลผู้สูงอายุตำบลหนองบัวให้อยู่ในสังคมยาวนานขึ้น และอยู่ในภาวะพึ่งพิงน้อยลงผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้อย่างดี ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างมีคุณภาพจึงจะทำให้สังคมผู้สูงอายุตำบลหนองบัวเป็นสังคมที่มีสุขภาวะได้อย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการเฝ้าระวังคัดกรอง ดูแลสุขภาพองค์รวม
|
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้รับการดูแลแบบ Long Term Caer (ระยะยาว) กลุ่มที่ 1 ที่ 2 และกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นได้ กลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลโดยสหวิชาชีพและ อผส. กลุ่มติดเตียงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษได้รับการดูแลโดยCare Giver อย่างต่อเนื่องทุกวัน
|
||
3 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
|
||
4 | เพื่อลดอัตราผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงรายใหม่
|
||
5 | เพื่อให้ประชาชนวัยทำงานตามเป้าหมายเข้าสู่วัยผู้สูงอายุโดยปราศจากโรค
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
2 ก.พ. 60 - 30 ก.ย. 60 | มหกรรมคัดกรองส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งตำบลในวันแห่งความรักภายใต้คอนเชปต์ วาเลนไทม์ 2560 คนสาธารณสุขร้อยรักร้อยใจมอบแด่ผู้สูงวัยในหนองบัวและตรวจคัดกรองที่บ้านโดย อสม. | 600 | 90,200.00 | ✔ | 90,200.00 | |
2 ก.พ. 60 - 30 ก.ย. 60 | ตรวจคัดกรองสุขภาพอันพึงประสงค์ของผู้สูงอายุที่โดย อสม. | 186 | 1,860.00 | ✔ | 1,860.00 | |
2 ก.พ. 60 - 30 ก.ย. 60 | เฝ้าระวังติดตามตรวจสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง | 100 | 1,000.00 | ✔ | 1,000.00 | |
2 ก.พ. 60 - 30 ก.ย. 60 | ติดตาม เยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจ ใกล้เตียง ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และผู้พิการ | 9 | 2,500.00 | ✔ | 2,500.00 | |
14 ก.พ. 60 | เข้าค่ายปฏิวัติชีวิต พิชิตอ้วน ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย | 100 | 57,000.00 | ✔ | 57,000.00 | |
รวม | 995 | 152,560.00 | 5 | 152,560.00 |
- ประชุมชี้แจงขั้นตอนและรูปแบบการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง
- ทำหนังสือเชิญผู้สูงอายุทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม
- จัดงานมหกรรมสุขภาพในวันในวันแห่งความรัก ภายใต้ Concept วาเลนไทม์ 2560 ร้อยรัก ร้อยใจ มอบแด่ ผู้สูงวัย ในตำบลหนองบัว โดยทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำหนองบัวร่วมกับ อสม. และ อผส. และบุคลากรสาธารณสุขจากหน่วยงานอื่น โดยจัดให้มีกิจกรรมดังนี้
3.1 รณรงค์ตรวจคัดกรองสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ 3.2 ให้ความรู้เรื่องดูแลสุขภาพด้วยตนเองแก่ผู้สูงอายุ 3.3 สาธิตการทำนำ้ผักเพื่อสุขภาพ และให้ชิมฟรี 3.4 จำหน่ายน้ำผักเพื่อสุขภาพ 3.5 มีกิจกรรมบนเวที 3.6 บริการให้แช่เท้าด้วยเกลือสมุทรและรางจืดเพื่อดูดสารพิษตกค้าง และการผ้อนคลายความเมื่อยล้า 3.7 บริการนวดฝ่าเท้าฟรีโดยผู้มีประสบการณ์ด้านแพทย์แผนไทย 3.8 ออกร้านจำหน่ายอาหาร 3.9 มอบของรางวัลแก่ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน - จัดกิจกรรมเข้าค่ายปฏิวัติชีวิต พิชิตอ้วน ชพิชิตโรค เพื่อการปฏิวัติพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ลดเสี่ยงลดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. ในกล่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย -
- อบรมให้ความรู้หลักการปฏิวัติชีวิต - สวดมนต์/ฝึกสมาธิฟังธรรม - ออกกำลังกาย - ดื่มน้ำผัก และผลไม้สด - สาธิตการทำน้ำผักและผลไม้สดรสไม่หวาน - รับประทานอาหารเมนูลดอ้วน ลดโรค - กิจกรรมรอบกองไฟเพื่อละลายพฤติกรรมและสันทนาการ 5. ลงตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพอันพึงประสงค์ของผู้สูงอายุที่บ้านโดย อสม. แต่ละหมู่บ้านในผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการคัดกรองในวันจัดกิจกรรมรณรงค์ได้ 6. วิเคราะห์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองทุกคนเพื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่ผ่านการคัดกรองเป็นกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 7. สำรวจ TAI โดย Care Manager เพื่อประเมินผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงซำ้ 8. วิเคราะห์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ผ่านการประเมิน ADL เพื่อแบ่งกลุ่มตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร เป็นกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง 9. เฝ้าระวังติดตามตรวจสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงหลังการรณรงค์คัดกรองครบ 6 เดือน 10. ติดตามผู้สูงอายุกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังทุกเดือนในคลินิกโรคเรื้อรังของสถานีอนามัยและติดตามเยี่ยมถึงบ้านโดย นสค. และ อสม. แต่ละหมู่บ้านในกรณีผู้ป่วยขาดนัด 11. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) และผู้พิการโดยทีม อผส. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเดือนละครั้ง 12. ดูแลผู้ป่วยที่ประเมิน TAI แล้วอยู่ในกลุ่มที่ต้องดูแลโดย สปสช. โดย Care Giver ร่วมกับ อสม. และอผส. และบุคลากรสาธารณสุขจากหน่วยงานอื่น
ผู้สูงอายุตำบลหนองบัวได้รับการดูแลแบบ Long Term Caer อย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานบริการ ด้านการคัดกรอง ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ(อผส.)ในชุมชนที่ผ่านการอบรม และดูแลต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดในรายที่มีภาวะพิ่งพิงโดย Care Giver ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง สามารถดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นและผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพพัฒนาการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันจากมีภาวะติดเตียงเป็นติดบ้านและจากติดบ้านเป็นติดสังคม ลดกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และลดความรุนแรงของโรคลงได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2560 10:02 น.