กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนลดและคัดแยกขยะในครัวเรือน
รหัสโครงการ 60-L4129-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.686,101.141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์พบว่า มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขยะมูลฝอยที่รถบรรทุกขยะของเทศบาลเก็บรวบรวมเพื่อนำไปกำจัดยังบ่อกำจัดขยะของเทศบาลเมืองเบตงนั้น ส่วนใหญ่มักพบเป็นขยะที่เป็นถุงพลาสติกจำนวนมากขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ซึ่งหากมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางหรือจากแหล่งกำเนิด จะสามารถลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดลงได้
ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล เกิดจากพฤติกรรมการใช้วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบอันเกิดจากการใช้วัสดุ เครื่องใช้ในครัวเรือนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศหรือสิ่งแวดล้อมฉะนั้น การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับครัวเรือน การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ จะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น มีความสนใจและ ใส่ใจในการปฏิบัติตาม ซึ่งการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะนอกจากจะสามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดลงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะ เพื่อนำไปขาย นำไปแลกไข่ และสามารถทำปุ๋ยหมักได้อีกด้วย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติม ถึง (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2552) กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลให้มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันและระงับโรคติดต่อเทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนลดและคัดแยกขยะในครัวเรือน”โดยการรณรงค์อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นกลวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะทำให้เกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม จนสามารถลดปริมาณขยะลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้มีความรู้ และมีความตระหนักในการคัดแยกขยะและการนำขยะ มูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

2 2.เพื่อส่งเสริมให้ ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย โดยการลดและคัดแยกมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดในท้องถิ่นของตนเอง

 

3 3.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยแก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 กลุ่ม ในทุก ๆ เดือน 2.เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
  2. ประชาสัมพันธ์ตามหอกระจายข่าวของแต่ละหมู่บ้าน 4.เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ติดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตราย จำนวน 7 จุด ครอบคลุมทั้งพื้นที่ในตำบลธารน้ำทิพย์ 5.เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ ดำเนินการจัดเก็บขยะทุกวัน และนำไปกำจัดยังบ่อกำจัดขยะของเทศบาลเมืองเบตง ซึ่งเป็นระบบฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล 6.กิจกรรมขยะแลกไข่ โดยเก็บรวบรวมขยะและวัสดุรีไซเคิลจากครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย โดยนัดหมาย วัน เวลา ในการจัดเก็บ
    7.เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ จัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตราย และเก็บรวบรวมนำส่ง อบจ.ยะลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้และทักษะ สามารถคัดแยกขยะและจัดการขยะแต่ละประเภท ได้อย่างเหมาะสม 2.ช่วยลดปริมาณขยะ ปัญหาไม่มีที่กำจัดขยะ และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่
3.เกิดครัวเรือนต้นแบบ ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะในการคัดแยกประเภทขยะสู่ครัวเรือนอื่น ๆ ในพื้นที่ 4.สภาพแวดล้อมในชุมชนมีความสะอาดปราศจากขยะมูลฝอย 5.ลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรกลงสู่ทรัพยากรน้ำในพื้นที่จากน้ำซะขยะที่ไม่ได้กำจัดอย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2560 10:04 น.