กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคเท้าช้าง ปี ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L2543-2-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.หมู่ 5)
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 11,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮารีซอ เจ๊ะสะนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซากีนา ดอเล๊าะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคเท้าช้าง โรคสครัปไทฟัสโรคไข้เลือดออกโรคโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ ไข้มาลาเรียเป็นต้น และในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ หมู่ ๕ บ้านตาเซะเหนือได้รับการตรวจคัดกรองโรคเท้าช้างจากศูนย์ควบคุมโรคโดยแมลง ศูนย์พิกุลทอง พบผู้ป่วยเท้าช้างรายใหม่จำนวน๓ ราย และผู้มีภาวะเสี่ยงอีก ๓๐ ราย ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว และด้วยบริบทพื้นที่อยู่ติดป่าพรุโต๊ะแดงทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนของชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรค ให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยคนในครัวเรือนชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุง ในบ้านและบริเวณบ้านของตนเองอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง สืบไปซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคและการมีสุขภาพดีต่อไป
ดังนั้น ชมรมอสม.หมู่ที่ ๕ บ้านตาเซะเหนือ รพ.สต.บ้านใหม่ตำบลสุไหงปาดีอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นปัญหาของโรคเท้าช้าง จึงได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ในการควบคุมป้องกัน การเกิดโรคเท้าช้าง จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคเท้าช้าง ปี ๒๕๖๒ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคเท้าช้าง

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง 90%

90.00 50.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ประชาชนร่วมป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  90%

90.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,520.00 1 11,520.00
??/??/???? จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง 0 11,520.00 11,520.00

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเท้าช้าง ได้แก่ สถานการณ์การเกิดโรคความรู้เรื่องโรคเท้าช้างอาการการติดต่อ การดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วยโรคเท้าช้าง และการป้องกันโรคความรู้เรื่องยุงวงจรชีวิตของยุง งบประมาณ ๑.ค่าอาหารว่างในโครงการฯจำนวน..๒ มื้อX ๒๕ บาทxจำนวน๖๐คน ๓,๐๐๐ บาท ๒.ค่าอาหารกลางวันจำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๕๐ บาทจำนวน ๖๐ คน ๓,๐๐๐ บาท ๓.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ..๒...คนๆละ..๒...ชั่วโมงๆละ....๖๐๐... บาท ๒,๔๐๐ บาท ๔.ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดโครงการ ชุดละ๔๐ บาท จำนวน๖๐ ชุด ๒,๔๐๐ บาท ๕.ค่าไวนิล ขนาด..๑X๒เมตร ๗๒๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๑,๕๒๐ บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคเท้าช้าง ๒.ประชาชนร่วมป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 00:00 น.