กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต


“ โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562 ”

ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์

ชื่อโครงการ โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562

ที่อยู่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2482-1-3 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 62-L2482-1-3 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 11,600.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่เชื้อโรคเองหรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่าโรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิด   โรคติดต่อสามารถป้องกันได้ หรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ถูกวิธี รวดเร็ว และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โรคติดต่อมีความสำคัญ เพราะนอกจากทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมาก เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้มาลาเรีย โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอุจจาระร่วง วัณโรค และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีโรคชนิดใหม่ๆ มากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เห็นได้จากจำนวนบ้านที่เพิ่มขึ้น เขตเมืองมีประชกรหนาแน่น และมีชุมชนแออัดขึ้น ประชาชนจึงติดโรคง่าย แต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิม การคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้น ทั้งถนนหนทางที่ทันสมัยและัการเดินทางโดยเครื่องบิน ทำให้เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ สามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็กๆได้ ภายในไม่กี่วัน จากเดิมต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือเป็นปี มีแหล่งรังโรคร่วมกันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน   ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ จากการวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จากข้อมูล รง.506 ของงานระบาดวิทยา พบว่าโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ โรคอุจาระร่วง โรคไข้เลือดออก และวัณโรค ตามลำดับ โดยโรคอุจาระร่วง มัอัตราป่วยสูงสุด ในปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 61 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 1,424.90 ต่อประชากรแสนคน และโรคที่เป็นปัญหารองลงมา คือ วัณโรค พบผู้ป่วยจำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 163.51 ต่อประชากรแสนคน และเมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญที่สุด คือ ความตระหนักของประชาชนในการมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ความตระหนักและความเอาใจใส่ในการร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน และความร่วมมือกันของประชาชนทุกครัวเรือนในชุมชนในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยังไม่จริงจังและขาดความต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคยังไม่มีความชัดเจน   จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานระบาดวิทยาและควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ได้เห็นความสำคัญที่จะลดปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562 ขึ่น เพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่
  2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีสาวนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
  2. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อประจำถิ่นได้ (โรคไข้เลือดออก,วัณโรคปอด,ไข้ปวดข้อยุงลาย)
  2. สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
  3. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์

วันที่ 22 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขอจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 รายการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (ขนาด 100 * 200 cm) จำนวน 2 ป้าย
  • ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องไข้ปวดข้อยุงลาย (ขนาด 100 * 200 cm) จำนวน 1 ป้าย
  • ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรค (ขนาด 100 * 200 cm) จำนวน 1 ป้าย

 

0 0

2. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

วันที่ 8 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคระบาดในพื้นที่
  • ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก,ไข้ปวดข้อยุงลาย
  • ให้ความรู้เรื่องวัณโรคปอด, โรคเรื้อน
  • กิจกรรมกลุ่มทำอย่างไรให้ชุมชนปลอดจากโรคระบาด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคระบาดประจำถิ่นได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อ โรคเรื้อน และโรควัณโรค มีความรู้ในเรื่องของการ สาเหตุการเกิดโรค การป้องกันโรค อาการและอาการแสดงของโรค รวมถึงการรักษาโรค
  • ในพื้นที่เขตรับผิดชอบไม่พบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในรอบปีงบประมาณ
  • ในรอบปีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 27.77 ต่อ แสนประชากร
  • ในรอบปี 2562 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 2 ราย รับการรักษาครบตามเกณฑ์

 

100 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคระบาดประจำถิ่นได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อ โรคเรื้อน และโรควัณโรค มีความรู้ในเรื่องของการ สาเหตุการเกิดโรค การป้องกันโรค อาการและอาการแสดงของโรค รวมถึงการรักษาโรค
  • ในพื้นที่เขตรับผิดชอบไม่พบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในรอบปีงบประมาณ
  • ในรอบปีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 27.77 ต่อ แสนประชากร
  • ในรอบปี 2562 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 2 ราย รับการรักษาครบตามเกณฑ์

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่
ตัวชี้วัด : สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้
50.00

 

2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีสาวนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
ตัวชี้วัด : สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้
50.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ (2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีสาวนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ (2) กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2482-1-3

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด