กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสาวโฆษิต พิชิตมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2482-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 11 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ก.พ. 2562 4 ก.พ. 2562 24 เม.ย. 2562 24 เม.ย. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็ง เป็นปัญหาทุกประเทศทั่วโลก ในปัจจุบัน การควบคุมโรคมะเร็งมีเป้าหมาย เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดความทุกข์ทรมานและการตายจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากยังไม่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรอง (Screening program) ที่มีประสิทธิผลดีพอในการตรวจหารอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง(Pre – cancerous lesions) และให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นระยะลุกลาม (Invasive cancer) รวมถึงประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear จากสถิติ รายงานว่า 30% ของผู้หญิงไทย ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย เพราะจากความประมาทเพราะคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร? รวมทั้งสตรีกลุ่มเป้าหมายของตำบลโฆษิตด้วย แต่ในความเป็นจริง ผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม !!       เป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือสตรีอายุ 30 – 60 ปีต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในรอบ 5 ปี ครบร้อยละ 100 จากผลการดำเนินงานของจังหวัดนราธิวาสสามารถดำเนินการได้น้อยมาก ซึ่งไม่ต่างจากอำเภอตากใบที่ดำเนินการได้ร้อยละ 50.25 ในรอบ 5 ปี และ และรพ.สต.บ้านโคกมือบาดำเนินการได้เพียงร้อยละ 73.65 ในรอบ 5 ปี ซึ่งเป้าหมายต้องได้ร้อยละ 100 ในรอบ 5 ปี (ระยะเวลาดำเนินการ ปี2558 – 2562)     ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและการป้องกันโรคให้กับประชาชน เพื่อ ลดค่าใช้จ่ายในการักษาโรค ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดทำโครงการสาวโฆษิต พิชิตมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 - 60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา  เข้าร่วมอบรมจำนวน 100 คน

90.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 - 60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

20.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องตน

สตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องตนร้อยละ 90

90.00
4 เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งพบแพทย์และรับการรักษาที่ถูกต้อง

สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งพบแพทย์

100.00
5 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรง

อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรงไม่เกินร้อยละ 5

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 1 10,000.00
18 มี.ค. 62 กิจกรรมจัดอบรมสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ปีขึ้นไปเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 0 10,000.00 10,000.00
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลสตรีอายุ 30-60 ปี ที่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
  2. สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีอายุ 30-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกมือบาจริงเปรียบเทียบกับคลังข้อมูล HDC เพื่อจัดทำทะเบียนสตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
  3. ผอ.รพ.สต.มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานหลัก สำหรับดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี
  4. จัดประชุม เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม .เพื่อชี้แจง แผนการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ประจำปี 2562
  5. จัดทำโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโฆษิต เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
  6. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา
  7. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ร่วมรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  8. จัดกิจกรรมสาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีอายุ 30 – 70 ปี
  9. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีอายุ 30 – 70 ปีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
  10. รพ.สต.บริการประสานและส่งต่อ สตรีที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการตรวจ และรักษาต่อตามลำดับขั้นตอนการรับบริการ
  11. สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนด้วยตนเองได้
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์กำหนด
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเมื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิด โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะรุนแรงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 11:45 น.