กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต


“ โครงการ แก้ไขภาวะขาดสารอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 72 เดือน ปี 2562 ”

ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์

ชื่อโครงการ โครงการ แก้ไขภาวะขาดสารอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 72 เดือน ปี 2562

ที่อยู่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2482-1-8 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ แก้ไขภาวะขาดสารอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 72 เดือน ปี 2562 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ แก้ไขภาวะขาดสารอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 72 เดือน ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ แก้ไขภาวะขาดสารอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 72 เดือน ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 62-L2482-1-8 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 28,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

นโยบายกระทรวงสาธารณสุขและจุดเน้นประเด็น smart kids ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในกลุ่มปฐมวัย 0-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน
ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่น เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่สำคัญ รวมถึงการติดตามพัฒนาการด้านการเจริญ เติบโตทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ของเด็กให้เหมาะสมตามวัย และที่สำคัญควรพาเด็กไปรับบริการตรวจสุขภาพ และรับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามดูการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและ    มีคุณภาพ การประเมินผลการเฝ้าระวังทาง ภาวะโภชนาการเด็กอายุแรกเกิด – 72 เดือนที่อยู่ในหมู่บ้าน พบว่าในพื้นที่เขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านโคกมือบาในไตรมาสที่ 4-๒๕๖๑ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 10 คน จากเด็กทั้งหมด 221 คน  คิดเป็นร้อยละ๔.5 น้ำหนักค่อนข้างน้อย 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.07 ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากการที่เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่า ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา ของเด็กและหากปัญหาเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลต่อประเทศชาติ ทำให้ประเทศชาติไม่มีการพัฒนา เพราะเด็กเป็นอนาคตของชาติที่สำคัญ ถ้ามีการแก้ไขปัญหาที่ดีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ก็จะหมดไปสำหรับผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิด – 72 เดือน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกมือบา ส่วนใหญ่ ไม่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านต่างๆ ปล่อยให้พัฒนาการของเด็ก เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นไปตามพันธุกรรมที่ได้รับจาก พ่อแม่ เท่านั้น ขาดการกระตุ้น และการส่งเสริมที่ถูกต้องตามหลักการเลี้ยงดูเด็ก       รพ.สต.บ้านโคกมือบา ได้ดำเนินกิจกรรม ในการดูแลเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในด้านต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ การฝากครรภ์ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การติดตามการเจริญเติบโตด้านร่างกาย การดูแลด้านสุขภาพช่องปาก การบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริม พัฒนาการของเด็ก เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายในการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กวัยแรกเกิด - 72 เดือน ทาง รพ.สต.บ้านโคกมือบา ได้ให้ความสำคัญ และจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย
  2. เพื่อลดจำนวนเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  3. เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากภาวะขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด -72 เดือน
  4. เพื่อให้เด็ก แรกเกิด – 72 เดือน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสมวัยตามวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมการสนับสนุนอาหารเสริมสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  2. กิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ และพัฒนาการของเด็ก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 72 เดือน สามารถเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพ
  2. เด็กแรกเกิด – 72 เดือน มีพัฒนาการสมวัย และมีรูปร่างสมส่วน
  3. เด็กแรกเกิด – 72 เดือน ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีภาวะโภชนาการดีขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการสนับสนุนอาหารเสริมสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

วันที่ 1 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมสนับสนุนอาหารเสริมแก่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 1. เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการสนับสนุนอาหารเสริม จำนวน 10 คน เป็นเวลา 6 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กที่รับอาหารเสริมจำนวน 10 คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 70

 

0 0

2. กิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ และพัฒนาการของเด็ก

วันที่ 6 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมจัดอรมผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ และพัฒนาการของเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิด-72 เดือน เข้าร่วมอบรมให้ความรู้ เรื่องภาวะโภชนาการ พัฒนาการของเด็ก จำนวน 100 คน

- มีความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัยของเด็กและสามารถยกตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับวัยต่างๆของเด็กได้อย่างเหมาะสม - มีความรู้เรื่องการประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก และสามารถประเมินภาวะโภชนาการของลูกตนเองได้อย่างถูกต้อง - มีความรู้เรื่องการประเมินพัฒนาการเด็ก สามารถใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กได้ถูกต้องและสามารถประเมินพัฒนาการเบื้องต้นของลูกได้เหมาะสม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก 1. ผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิด - 72 เดือน เข้าร่วมอบรมให้ความรู้ เรื่องภาวะโภชนาการ พัฒนาการของเด็ก จำนวน 100 คน - มีความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัยของเด็กและสามารถยกตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับวัยต่างๆของเด็กได้อย่างเหมาะสม - มีความรู้เรื่องการประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก และสามารถประเมินภาวะโภชนาการของลูกตนเองได้ถูกต้อง - มึความรู้เรื่องการประเมินพัฒนาเด็ก สามารถใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กได้ถูกต้องและสามารถประเมินพัฒนาการเบื้องต้นของลูกได้เหมาะสม กิจกรรมการสนับสนุนอาหารเสริมแก่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 1. เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการสนับสนุนอาหารเสริม จำนวน 10 คน เป็นเวลา 6 เดือน - เด็กที่ได้รับอาหารเสริมจำนวน 10 คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 70

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย
0.00

 

2 เพื่อลดจำนวนเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
ตัวชี้วัด : เด็ก 0 – 72 เดือนมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7
7.00

 

3 เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากภาวะขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด -72 เดือน
ตัวชี้วัด : จำนวน เด็ก แรกเกิด -72 เดือนมีภาวะ การเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารน้อยกว่าร้อยละ 7
7.00

 

4 เพื่อให้เด็ก แรกเกิด – 72 เดือน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสมวัยตามวัย
ตัวชี้วัด : เด็ก 0 – 72 เดือน มีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
95.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 110 110
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย (2) เพื่อลดจำนวนเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (3) เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากภาวะขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด -72 เดือน (4) เพื่อให้เด็ก แรกเกิด – 72 เดือน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสมวัยตามวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการสนับสนุนอาหารเสริมสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (2) กิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ และพัฒนาการของเด็ก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ แก้ไขภาวะขาดสารอาหาร และส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 72 เดือน ปี 2562 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2482-1-8

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด