กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต


“ โครงการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562 ”

ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางวิภาวรรณ ศรีสังข์

ชื่อโครงการ โครงการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562

ที่อยู่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2482-1-10 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 62-L2482-1-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 18,600.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การแพทย์แผนไทยในปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลให้เป็นการแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่งแก่ผู้รับบริการ กิจกรรมการแพทย์แผนไทยได้แก่ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การปลูกสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เอง ซึ่งประโยชน์ของการนวดชนิดต่างๆสามารถบำบัดอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายความเครียด ปวดหลัง ปวดเอว ฯลฯ ลดการใช้ยาเองได้ การอบสมุนไพรช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น บำบัดโรคภูมิแพ้ ปวดเมื่อยฯลฯ และการประคบสมุนไพรช่วยลดการอักเสบฟกช้ำของกล้ามเนื้อและข้อได้ นอกจากนี้การแปรรูปสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพช่วยให้ชุมชนนำสมุนไพรที่มีมากมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น แชมพูสระผมจากดอกอัญชัญ โลชั่นกันยุงจากตระไคร้หอม สบู่สมุนไพร การทำลูกประคบสมุนไพร
      และสืบเนื่องจากในพื้นที่รับผิดชอบเขตตำบลโฆษิตมีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ หลายราย ซึ่งขณะตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากมาย ทั้งในด้านกายวิภาค และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงจะดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด เช่น การเปลี่ยนแปลงช่องคลอด ปากช่องคลอด มดลูก กล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังบริเวณหน้าท้องจะขยายทำให้หน้าท้องลาย และการเปลี่ยนแปลงที่เต้านมเมื่อคลอดบุตร โดยปกติระยะหลังคลอด ร่างกายก็จะมีการปรับตัวให้เข้าสู่สภาพปกติได้เอง มดลูกมีขนาดเล็กลงเท่าก่อนตั้งครรภ์ ท้องจะลดลง เริ่มทานอาหารได้ปกติ ผิวพรรณสดใส แต่ในระยะหลังคลอดจะยังคงมีร่องรอยของการผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่พึงปรารถนา เช่น มีไขมันหน้าท้องมาก ผิวหน้า ตกกระ ด่างดำ ผิวหนังบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบคล้ำ ผิวหนังหย่อนยาน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามหลัง น่อง หรือบางรายเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งจะมีอาการหนาวสะท้านเมื่อเจอลมฝน นานวันเข้ากลายเป็นคนสุขภาพไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอดด้วยการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น บอกกล่าวว่าถ้าได้อยู่ไฟแล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและส่งผลดีต่อสุขภาพ ปัจจุบันรพ.สต.บ้านโคกยาง มีหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 39 คนและหญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 36 คน และมีภาวะแท้งจากการตั้งครรภ์ จำนวน 2 รายเนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ยังขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
      ดังนั้น รพ.สต. บ้านโคกยางจึงได้จัดทำโครงการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562 ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย เพื่อลดอาการปวดคัดตึงเต้านม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม ลดอาการปวดเมื่อยในมารดาหลังคลอด และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถทำงานได้เป็นปกติทำให้หน้าท้องยุบเร็วน้ำคาวปลาไหลออกดีขึ้นและแห้งเร็ว ช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้นโดยครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลัก อันจะส่งผลให้หญิงหลังคลอดเกิดความอบอุ่น ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตมารดาหลังคลอด โดยให้ความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดรวมไปถึงครอบครัวให้เป็นไปในทางบวก มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพตนเองหลังคลอดและการเลี้ยงดูการให้นมแม่และอาหารเสริมลูกเป็นอย่างดี
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์
  3. เพื่อให้หญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพร การนวด การประคบ,แปรรูปสมุนไพร และการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลออด
  2. กิจกรรมการปลูกสวนสมุนไพร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
  2. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด
  3. เกิดการดูแลหลังคลอดที่ผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย
  4. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหญิงหลังคลอดรวมถึงครอบครัวให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพร การนวด การประคบ,แปรรูปสมุนไพร และการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลออด

วันที่ 6 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 6 มิถุนายน 2562 - ชี้แจงความเป็นมาของโครงการการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย - ให้ความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์คุณภาพ - ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด - การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วันที่ 7 มิถุนายน 2562 - การแพทย์แผนไทยกับหญิงตั้งครรภ์ - สมุนไพรกับหญิงหลังคลอด - ฝึกปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ค้นหา เชิญกลุ่มเป้าหมายและทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในพื้นที่ 80 คน
  2. อบรมความรู้เรื่องสมุนไพรและการ ใช้สมุนไพร การนวด การประคบ การแปรรูปสมุนไพร และการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 คน

 

80 0

2. กิจกรรมการปลูกสวนสมุนไพร

วันที่ 11 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ประโยชน์ของพืชสมุนไพรไทย
  • นิทรรศการ พืชสมุนไพรไทย
  • การแพทย์แผนไทยกับสมุนไพรไทย ในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด
  • การใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรค
  • สาธิตการทำน้ำสมุนไพร
  • กิจกรรมปลูกพืชสมุนไพร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กิจกรรมการปลูกสวนสมุนไพร รณรงค์ปลูกสมุนไพรเป็นศูนย์เรียนรู้ ณ รพ.สต.บ้านโคกยาง มีผู้เข้าร่วม 21 คน

 

21 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ค้นหา เชิญกลุ่มเป้าหมายและทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในพื้นที่ 80 คน
  2. อบรมความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพร การนวด การประคบ แปรรูปสมุนไพร และการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 คน
  3. กิจกรรมปลูกสวนสมุนไพร รณรงค์ปลูกสมุนไพรเป็นศูนย์เรียนรู้ ณ รพ.สต.บ้านโคกยาง มีผู้เข้าร่วม 21 คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดรวมไปถึงครอบครัวให้เป็นไปในทางบวก มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพตนเองหลังคลอดและการเลี้ยงดูการให้นมแม่และอาหารเสริมลูกเป็นอย่างดี
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะและปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพได้มากขึ้น
80.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
0.00

 

3 เพื่อให้หญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เข้าใจและมีความพึงพอใจในการบริการการแพทย์แผนไทย
90.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดรวมไปถึงครอบครัวให้เป็นไปในทางบวก มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพตนเองหลังคลอดและการเลี้ยงดูการให้นมแม่และอาหารเสริมลูกเป็นอย่างดี (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ (3) เพื่อให้หญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพร การนวด การประคบ,แปรรูปสมุนไพร และการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลออด (2) กิจกรรมการปลูกสวนสมุนไพร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์แผนไทย ปี 2562 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2482-1-10

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางวิภาวรรณ ศรีสังข์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด