กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านสะหริ่ง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2482-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านสะหริ่ง
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 11 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดือเล๊าะ อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ก.พ. 2562 7 ก.พ. 2562 45,000.00
รวมงบประมาณ 45,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงสูงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้แก่ ปัญหาการได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุ ปัญหาในการขบเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อม ปัญหาการเจ็บป่วยด้วย  โรคเรื้อรังที่พบมาก ๓ อันดับแรกในผู้สูงอายุได้แก่  โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๓๑.๗ โรคเบาหวาน ร้อยละ ๑๓.๓ และโรคหัวใจ ร้อยละ ๗ ( มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย,๒๕๕๓) นอกจากนั้นมีโรคอัมพฤกษ์/อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคมะเร็ง ส่วนโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเรื้อรังที่คุกคามภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
    จากผลการดำเนินงานปี ๒๕61 ที่ผ่านมา ม.1 บ้านสะหริ่ง ตำบลโฆษิต สถานการณ์ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงสูงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้แก่ ปัญหาการได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุ ปัญหาในการขบเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อม ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาวเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

1.ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการพบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ 2ส และสามารถนำไปเผยแพร่ต่อภายในชุมชนได้

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,000.00 0 0.00
21 มี.ค. 62 กิจกรรมสันทานการ 0 29,000.00 -
  1. เจ้าหน้าที่ประชุมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอพิจารณาอนุมัติ
  3. สถานบริการสาธารณสุขดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน
  4. สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ และ จำแนกประเภท โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  5. จัดกิจกรรมสันทนาการ มีการพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลัก 6 อ. 1 เดือน/ครั้ง
  6. กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ หลัก ๖ อ. แก่กลุ่มเป้าหมาย  มีเนื้อหาดังนี้
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับดอกไม้ 7 สี
    • อาหาร, การดูแลเรื่องสุขภาพในช่องปาก
    • การฝึกทักษะออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆที่ถูกต้อง เช่น การยืดเหยียด รำไม้พลอง ฯลฯ
    • การจัดการกับอารมณ์ การจัดการกับความเครียด การเข้าหาธรรมะหรือศาสนา
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในบ้านที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพผู้สูงอายุ
    • อบายมุข การละลดเลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์
  7. ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจฟัน ประเมินภาวะสุขภาพกายและจิตโดยบุคลากรสาธารณสุข อสม.และกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ
  8. เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง
  9. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานทุกเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีชมรมนำร่องที่มีการดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้สูงอายุและครอบครัว
  2. มีการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรนาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้สูงอายุ และครอบครัว
  3. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมและเพิ่มคุณค่าของผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการดูแลตนเองร่วมกับครอบครัว  มากยิ่งขึ้น
  4. มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง มีการเชื่อมประสานกับเครือข่ายและหน่วยงานราชการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 13:44 น.