กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ อบต.กายูบอเกาะ
รหัสโครงการ 62-L4153-05-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกายูบอเกาะ
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กุมภาพันธ์ 2562 - 11 กุมภาพันธ์ 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 11 มีนาคม 2562
งบประมาณ 18,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดำรงค์ นะยะอิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.476,101.413place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.พ. 2562 11 ก.พ. 2562 18,100.00
รวมงบประมาณ 18,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลจากความร่วมมือรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 โดยกรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ พร้อมกันทั่วประเทศโดยเฉพาะสุนัขจรจัด สัตว์ด้อยโอกาสตามสถานที่สาธารณะและแหล่งชุมชน ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตและสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้าลดลงอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ปัจจุบันจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 5 ราย ต่อปี แต่เนื่องจากการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวยังมีปัญหาหลายประการที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งในสัตว์และในคนได้ ทำให้อัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ยังมีประมาณ 20% นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มีเป้าหมายร่วมกันดำเนินการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากทวีปเอเชียภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของทั้ง 2 องค์กร ได้เห็นชอบและพร้อมให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกายูบอเกาะ และองค์การบริหารส่วนตำบลกายูบอเกาะ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภาระหน้าที่ต้องเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น จึงได้ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอรามัน จัดทำโครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวในพื้นที่ขึ้น เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ดำเนินได้อย่างต่อเนื่องโดยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ให้ได้มากกว่า 50% เพื่อลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และส่งผลให้ลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสู่คนต่อไป รวมทั้งเพื่อกระตุ้นการสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ประชาชนให้มีความรับผิดชอบนำสัตว์เลี้ยงของตนไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้ามากขึ้น ให้สามารถป้องกันตนเองและสัตว์เลี้ยงจากโรคพิษสุนัขบ้า ส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (แมว) รักถูกวิธี เป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนจากการถูกสัตว์เลี้ยงที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ ร้อยละ ๙๐

สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ ร้อยละ ๙๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,100.00 0 0.00
11 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของโรค รวมถึงวิธีการป้องกันที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครในพื้นที่ 0 18,100.00 -
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชุมชน โรงพยาบาล ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและองค์กรอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ลงพื้นประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้ประชาชนทราบถึงวิธีป้องกันและปฏิบัติตัวเมื่อเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนได้
  3. เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมาให้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการระงับ และป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนได้เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดสู่คนอื่นด้วยวิธีต่าง ๆ
  4. ติดตาม ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า และให้ความสำคัญในการป้องกันโรคในสัตว์และคน โดยการนำสัตว์เลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  3. สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนได้
  4. สามารถสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในการเฝ้าระวังและฉีดวัคซีนป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2562 14:07 น.