กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบูรณาการแบบยั่งยืน รพ.สต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา
รหัสโครงการ 60-L5238-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ชุมพล
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 ตุลาคม 2559 - 22 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณฤดี พฤกษศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศมีแนวโน้มช่วงระยะเวลา ในการระบาดถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น จากการระบาดของโรคปีเว้นสองปีปีเว้นปี ปัจจุบันมีการระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาลโรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. อปท. ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเน้นให้ อสม. ร่วมกับผู้นำชุมชนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องมาจากผู้นำชุมชนไม่ให้ความสำคัญและไม่เป็นตัวอย่างในการกำจัดลูกน้ำยุงลายอสม.ขาดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นช่วงๆขาดความสม่ำเสมอประชาชนขาดความร่วมมือในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนตนเอง ไม่เห็นความจำเป็นของการกำจัดลูกน้ำยุงลายเพราะถือเป็นบทบาทของ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พบผู้ป่วยจำนวน 3,553ราย อัตราป่วย 252.71 ต่อประชากรแสนคนเสียชีวิต 6 ราย อัตราตาย 0.43 ต่อ ประชากรแสนคน ส่วนในพื้นที่เขตรับผิดขอบของ รพ.สต.ชุมพลปี 2557 - ปี 2559 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 0,44.66 และ0 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมพลได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบูรณาการแบบยั่งยืนโดยร่วมกับ อสม.ในการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลาย ในบ้านของตนอย่างจริงจัง ทำให้ตำบลชุมพลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้ายโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน และลด ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย 3.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าร้อยละ๒๐ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2555-2559)
  2. ร้อยละ 80 ของ รพ.สต./โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/วัด มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายCI= 0 /ในหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า 10
  3. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ระดับ5
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเจ้าหน้าที่/อสม. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงาน 2.จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคระดับตำบล 3.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในชุมชนและสถานที่สาธารณะ 1ครั้ง/เดือน และ อสม.ส่งรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน
4.รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและจัด Big Cleaning Day เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปีละ 4ครั้ง (ธค.59,มีค60,มิย60,กย.60) โดยวิธี ทางกายภาพ(คว่ำ เผา ฝัง ภาชนะ) ชีวภาพ(ใส่ปลากินลูกน้ำ) สารเคมี (ใส่ทรายทีมีฟอสกำจัดลูกน้ำ) 5.พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ก่อนเปิดเทอม)และในชุมชน (กรณีมีผู้ป่วย)โดย อบต. รับผิดชอบในการพ่นหมอกควัน 5.1 ใช้สเปรย์ฉีดยุงในบ้านของผู้ป่วยกรณีที่ไม่สามารถพ่นหมอกควันได้ทันที 5.2 แจกโลชั่นแก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านและในกลุ่มที่สงสัยว่าน่าจะป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 6.สุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน /สถานที่สาธารณะ ทุก 3 เดือน 7.ติดตามการปฏิบัติงาน/ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย 8.สรุปประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2560 13:28 น.